ผลของการใช้หุ่น Suction ต่อความสามารถในการดูดเสมหะ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การใช้หุ่น Suction, ความสามารถในการดูดเสมหะ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดเสมหะและเพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจต่อการดูดเสมหะของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้หุ่น Suction และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หุ่น Suctionของนักศึกษาพยาบาล วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลอง (pretest - posttest quasi - experimental research) โดยใช้อุปกรณ์การสร้างหุ่น Suction จากวัสดุที่มีต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิภาพในการใช้ฝึกดูดเสมหะซึ่งประกอบด้วย หุ่นจำลองมนุษย์ที่ทำจากพลาสติก ท่อช่วยหายใจ ปอดเทียม ข้อต่อต่าง ๆ เสมหะเทียมทำจากแป้งมันสำปะหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2562 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองเพื่อประเมินความมั่นใจในการดูดเสมหะและความพึงพอใจในการใช้หุ่น Suction ของนักศึกษาพยาบาล และแบบประเมินความสามารถใน การดูดเสมหะโดยอาจารย์ผู้สอนในห้องปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถในการดูดเสมหะหลังการใช้หุ่น Suction มากกว่าก่อนการใช้หุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ความมั่นใจในการดูดเสมหะหลังการใช้หุ่น Suction มากกว่าก่อนการใช้หุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ความพึงพอใจในการใช้หุ่น Suction อยู่ในระดับดี สรุปได้ว่า การใช้หุ่น Suction ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความมั่นใจและสามารถในการดูดเสมหะได้ ดังนั้นควรนำหุ่น Suction ไปใช้ในการฝึกสำหรับนักศึกษาพยาบาลก่อนการปฏิบัติจริงในคลินิก
References
ชลฏา ไชยศรีปาน และเพียงฤทัย สกุลแก้ว. (2552). นวัตกรรมหุ่นจำลองเพื่อการสอนญาติ. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2557 จาก http://medinfo2.psu.ac.th/
ชุลี โจนส์. (2557). กายภาพบำบัดทรวงอก ทางคลินิก Clinical chest physiotherapy. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
นลินภัสร์ รตนวิบูลย์สุข. (2555). ผลการใช้หุ่นจำลองการเจาะเก็บเลือด สำหรับนักศึกษาสาขาพยาธิวิทยาคลินิก ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโยลีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิศารัตน์ รวมวงษ์ และคณะ. (2554). ผลของการใช้หุ่นแขนและหลอดเลือดจำลองต่อความสามารถในการใช้สารน้ำและเจาะเลือดทางหลอดเลือดดำของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 395-407.
ปฐมามาศ โชติบัณ และคณะ. (2556). นวัตกรรมชุดหุ่นฝึกทักษะการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(3), 1-12.
ปรียสลิล ไชยวุฒิ และเยาวลักษณ์ คุมขวัญ. (2560). หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ: นวัตกรรมสื่อการสอนทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 47-59.
ปารยะ อาศนะเสน. (2561). ประโยชน์ของ N - Acetylcysteine (NAC) ที่คุณยังไม่รู้ (ตอนที่1). เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2557 จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/ admin/article_files/1353_1.
เยาวลักษณ์ คุมขวัญ. (2561). การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2 (Suction Models 2 for Suction Skill Practice). วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(2), 154-165.
รวิภา บุญชูช่วย. (2558). ที่ศึกษานวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะการดูดเสมหะ “RTAFNC Suction Model”. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 44-52.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาการพยาบาล. (2552). ข้อบังคับสภาการพยาบาล. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2552 จาก http://www.tnc.ac.th
สมจิตต์ สินธุชัย และคณะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 113-127.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.
Faul, E. et al. (2009). Statistical power analyses using G* Power version 3.1.3: Tests for correlation and regression analysis. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Foronda, C. et al. (2013). Evaluation of Simulation in Undergraduate Nurse Education: An Integrative Review. Clinical Simulation in Nursing, 9(10), 409-416.
Kelly, C. (1997). Theory of experimental learning and ESL. Retrieved March 23, 2010, from http://iteslj.org/Artical/kelly-Experiential
Laschiger, S. (2008). Effectiveness of simulation on health profession students’knowledge, skills, confidence, and satisfaction. International Journal of Evidence-Based Healthcare, 6(3), 278-302.
Mould, J. et al. (2011). Evaluation of a critical care simulation series for undergraduate nursing students. Contemporary Nurse, 38(1-2), 180- 190.
Ross, J. G. (2015). The effect of simulation training on baccalaureate nursing students’ competency in performing intramuscular injection. Nursing Education Perspectives, 36(1), 48-59.
Susanha, Y. (2015). Developing simulation model for training clinical skill of health science students. Nursing Journal, 43(2),142-151.