การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การบริหาร, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนมัธยมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัย ค่าควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี มี 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านเจตคติและทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง ด้านความเข้าใจ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการประเมินผล และด้านการปรับปรุงพัฒนา 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการประเมินการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3) ระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลข่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
เกษมสุข อันตระโลก. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เทอดศักดิ์ ถาวรสุทธิ์. (2546). การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา 2545. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ธันยพร ทรดล และคณะ. (2545). ความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคมจังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ยุวดี ปั้นงา. (2554). พัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดไชย ชุมพลชนะสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายัณห์ พรมใส. (2548). การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเถินวิทยา จังหวัดลำปาง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อมรรัตน์ อุดแก้ว. (2554). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนยางคำพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรทัย มังคลาด. (2557). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 อำเภอจุนจังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อวยชัย ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในอูนนำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 85-95.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.