การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก ผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะหลักผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสาร ตำราที่มีความเกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการสรุปอุปนัย ตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะหลักผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพองค์ประกอบและตัวชี้วัด จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพขององค์ประกอบและตัวชี้วัด เพื่อพิจารณาและตรวจสอบยืนยัน 3 ประเด็น คือ 1) ความเป็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้องค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) ความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดกับกลุ่มของนิสิต/นักศึกษา และ 3) ความถูกต้องตามหลักการและทฤษฎี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะหลักผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ มี 4 องค์ประกอบ 48 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ จำนวน 12 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบด้านทักษะ จำนวน 18 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบด้านแรงจูงใจและแนวคิดของตนเอง จำนวน 7 ตัวชี้วัด และ 4) องค์ประกอบด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 11 ตัวชี้วัด ผลการตรวจสอบ ยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะ 3 ประเด็น คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน พบว่า ตัวชี้วัดมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 1.50 ลงมา ดังนั้นตัวชี้วัดทุกตัวมีคุณภาพและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
References
จิตติ ชนะฤทธิชัย. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อรองรับแผนการศึกษาชาติ. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เดลินิวส์. (2556). “มศว” จัดฉลอง 100 ปี การพลศึกษาไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2564 จาก https://www.dailynews.co.th/sports/109842
ผู้ทรงคุณวุฒิ. (21 กรกฎาคม 2563). การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก ผู้เรียนสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ. (พิพัฒน์ ตันวิบูลย์วงศ์, ผู้สัมภาษณ์)
พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(Supplement), 8 - 21.
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลาการทางการศึกษา พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 52. หน้า 3-16.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยประสิทธิภาพและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อนุชิต แท้สูงเนิน. (2554). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในช่วง พ.ศ. 2554 - 2564. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2550). มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 35(กันยายน-ธันวาคม), 57-63.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist: Prentice-Hall.
New Delhi. (2019). Why education is one of the most powerful weapons to transform society. Retrieved March 20 , 2021, from https://www. indiatoday.in/education-today/featurephilia/story
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.