กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้

ผู้แต่ง

  • ธัญญรัตน์ เกตุแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ณธษา เถื่อนฤาชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การพัฒนาสมรรถนะ, ผู้ประกอบการ, ธุรกิจกล้วยไม้

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้ 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์สำหรับการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้จำนวน 3 ท่าน และทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ทำการแจกแบบสอบถามให้ผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 ท่าน สถิติที่ใช้คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์น้ำหนักขององค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ศึกษาในระดับปริญญาตรี ระยะเวลาในการดำเนินกิจการมากกว่า 31 ปี มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 200,000 บาท การจัดตั้งกิจการไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ กิจการมีขนาดกลางและขนาดย่อม โดยองค์ประกอบหลักในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านความเป็นผู้ประกอบการ จากการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติร้อยละ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับด้านความเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ และด้านทักษะ ตามลำดับ ในการวิเคราะห์น้ำหนักขององค์ประกอบ พบว่า มีจำนวนองค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบหลัก และ 20 องค์ประกอบย่อย จากองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ได้นำมากำหนดเป็นกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้ กิจกรรมและแนวทางในการดำเนินการทั้ง 3 ด้าน โดยมีกลยุทธ์ที่ 1 ด้านความรู้เกี่ยวกับธุรกิจกล้วยไม้ กลยุทธ์ที่ 2 ด้านการบริหารการตลาด กลยุทธ์ที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง กลยุทธ์ที่ 4 ด้านภาวะการเป็นผู้นำ จากกลยุทธ์ที่ได้นั้นนำไปเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจกล้วยไม้ หรือนำไปพัฒนาธุรกิจของตนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

References

กนกพัชร์ วงศ์อินทร์อยู่. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research5508.pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สถานการณ์กล้วยไม้ไท. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652057

กัลยภรณ์ ดารากร ณ อยุธยา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำ วัฒนธรรม องค์การ กับความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลศึกษาธนาคารพาณิชย์ในเขตจังหวัดนครปฐม. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000006139

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). Competency-Based Human Resources Management. กรุงเทพมหานคร: HR Magazine.

ธงชัย สันติวงษ์. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2511). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์พรินท์.

นัยนัน บุญมี. (2555). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด สาขา เซ็นทรัลเวิลด์. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/9785/fulltext.pdf?sequence=2&isAllowed=y

พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). เนื้อที่เก็บเกี่ยว จำนวน ครัวเรือน และเนื้อที่เพาะปลูกเฉลี่ยต่อต่อครัวเรือน. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://www.oae.go.th

อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขล: ภารกิจเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/21/2021

How to Cite

เกตุแก้ว ธ., เถื่อนฤาชัย ณ., & รูปสิงห์ ท. (2021). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 426–439. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/251783

ฉบับ

บท

บทความวิจัย