การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่และเมืองฝูโจวประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • JINMING WANG มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ลภัสรินทร์ ฉัตรวังคีรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตั้งชื่อร้านอาหาร, เชียงใหม่, ฝูโจว, ประเทศจีน, วัจนลีลา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะภาษา และการแสดงสังคม และวัฒนธรรมชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่และเมืองฝูโจว ประเทศจีน โดยใช้มุมมอง วัจนลีลา ผลการวิจัยพบว่า ภาษาในการตั้งชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ มีความซับซ้อนน้อยกว่าชื่อร้านอาหารเมืองฝูโจวประเทศจีน ทั้งด้านโครงสร้าง ความหมาย และกลวิธีทางภาษา ดังต่อไปนี้ 1) ด้านโครงสร้างของชื่อร้านอาหาร พบว่าชื่อร้านอาหารอาจเป็นคำ วลี หรือประโยค ซึ่งชื่อร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นนามวลี ชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นนามวลีส่วนใหญ่ ประกอบด้วยหน่วยหลักตามด้วยหน่วยขยาย และหน่วยขยายมีได้มากที่สุด 2 หน่วย แต่ชื่อร้านอาหารในเมืองฝูโจวประเทศจีนที่เป็นนามวลีส่วนใหญ่ ประกอบด้วย หน่วยขยายตามด้วยหน่วยหลัก ซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้างของหน่วยไวยากรณ์ภาษาจีน และหน่วยขยายมีได้มากที่สุด 3 หน่วย 2) ด้านความหมายของชื่อร้านอาหาร พบว่า ชื่อร้านอาหารมีการสื่อความหมายโดยตรงและโดยอ้อม ชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ที่สื่อความหมายโดยตรงมีจำนวนมากกว่าชื่อร้านอาหารในเมืองฝูโจวประเทศจีน 3) ด้านกลวิธีทางภาษาของชื่อร้านอาหาร พบว่าชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่และเมืองฝูโจวประเทศจีน ส่วนใหญ่ใช้กลวิธีทางความหมายคือนามนัย นอกจากนี้ยังพบว่าชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้กลวิธีทางภาษาน้อยกว่าชื่อร้านอาหารในเมืองฝูโจวประเทศจีน ส่วนด้านการแสดงสังคมและวัฒนธรรมในชื่อร้านอาหาร พบว่า ชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่แสดงความเป็นท้องถิ่น ส่วนชื่อร้านอาหารในเมืองฝูโจวประเทศจีนส่วนใหญ่แสดงค่านิยมเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง

References

คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2543). เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เอบิช อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2561). การศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(2), 202-230.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2563). ภาษาบนป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนเยาวราช: กรณีศึกษาชื่อร้านค้าภาษาจีนและภาษาไทย. มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 55-74.

สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของชื่อร้านค้าที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลของคนไทยและคนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(2), 45-57.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Benjamin, W. (1986). Illuminations. New York: Schocken Books.

Genette, G. (1997). Palimpsests: Literature in Second Degree. Channa Newman and Claude Doubinsky (trans) Lincoln. London: University of Nebraska.

Lakoff, G. & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: University of Chicago.

Leech, G. N. & Short, M. H. (1981). Style in Fiction: A Linguistic Introduction to English Fictional Pross. London: Longman.

候晓红. (2017). 西安市饭店名称的语言与文化分析. 西安: 西安外国语大学.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/31/2022

How to Cite

WANG, J., & ฉัตรวังคีรี ล. . (2022). การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่และเมืองฝูโจวประเทศจีน. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 225–239. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/253524

ฉบับ

บท

บทความวิจัย