การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ:
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้, ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์, นักเรียนระดับประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ศึกษาที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 6 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีขั้นตอนในการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 3) การสร้างแบบประเมินความหมาะสม 4) ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม 5) การตรวจสอบความเหมาะสม 6) การวิเคราะห์ผลและปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อยและ 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เนื้อหาคณิตศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบย่อย 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มี 4 องค์ประกอบย่อย 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 สถานการณ์/บริบทมี 4 องค์ประกอบย่อย 4 ตัวบ่งชี้ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา องค์ประกอบและตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมมากถึงมากที่สุดและค่าเฉลี่ย (
) มีค่าตั้งแต่ 4.00 – 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าตั้งแต่ 0.33 – 1.32 แสดงว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ. (2550). การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015summaryreport/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด.
Ippolito, J. et al. (2017). What Literacy Means in Math Class: Teacher Team Explores Ways to Remake Instruction to Develop Students'Skills. Retrieved May 17, 2019, from https://learningforward.org/wp-content/uploads/2017 /08/what-literacy-means-in-math-class.pdf
OECD. (2015). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework Science, Reading, Mathematic, Financial Literacy and Collaborative Problem Solving. Retrieved May 17, 2019, from https://www.oecd.org/education/education -at-a-glance-2015.htm
Stacey, K. (2012). THE INTERNATIONAL ASSESSMENT OF MATHEMATICAL LITERACY: PISA 2012 FRAMEWORK AND ITEMS. Retrieved July 20, 2019, from https://www.mathunion.org/fileadmin/ICMI/Conferences/ICME/ ICME12/ www.icme12.org/upload/submission/2001_F.pdf
Zulkardi, Z. & Kohar, A. W. (2018). Designing PISA-Like Mathematics Tasks In Indonesia: Experiences and Challenges. Retrieved July 20, 2019, from https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/947/1/012015