SITUATIONS PROBLEMS, NEEDS, AND GUIDELINES IN PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT MODEL ON RHYTHMIC ACTIVITIES APPLYING PHENOMENON-BASED LEARNING APPROACH

Authors

  • Phanu Kusolwong University, Thailand
  • Sathin Prachanban University, Thailand
  • Pholphiphat Sukpattee University, Thailand

Keywords:

Physical Education Learning Management, Rhythmic Activities, Phenomenon - Based - Learning Management, 21st - Century Skills

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา รายวิชากิจกรรมเข้าจังหวะ ด้วยวิธีการสอนแบบปรากฏการณ์เป็นฐานในระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก 1) กรณีศึกษา 2 โรงเรียนเพื่อศึกษาสภาพปัญหา รายวิชากิจกรรมเข้าจังหวะ สังคมศึกษา ศิลปะ และภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอน พลศึกษา ศิลปะดนตรี สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ 8 คน และสนทนากลุ่มนักเรียนที่เคยเรียนวิชากิจกรรมเข้าจังหวะ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาสรุปอุปนัย และ                 การเปรียบเทียบ 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า 1) สภาพปัญหา คือ ไม่กำหนดวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้ในชีวิตจริงและพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เนื้อหาและกิจกรรมไม่มีการบูรณาการ ไม่มีสื่อการเรียนรู้ที่นำไปทบทวนการเต้น ผู้เรียน  ไม่สามารถอธิบายความรู้กิจกรรมเข้าจังหวะได้ การจับคู่เต้นผู้เรียนมีความสามารถต่างกัน และผู้เรียนขาดความรับผิดชอบในการส่งงาน 2) ความต้องการจำเป็น คือ ควรระบุวัตถุประสงค์ การเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้ชัดเจน บูรณาการเนื้อหาวิชากับรายวิชาอื่น ๆ ให้เวลาการฝึกเต้นมากขึ้น อธิบายบริบททางสังคม เพศ และความสามารถการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน มีวีดิทัศน์ศึกษาเพิ่มเติมและเข้าถึงได้ง่าย ผู้เรียนและครูผู้สอนควรสรุปประเมินการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเน้นพัฒนาด้านการเต้น และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ 3) แนวทางใน การจัดการเรียนรู้ ควรอิงสมรรถนะสำคัญและกำหนดเนื้อหาการบูรณาการ ในรายวิชา พลศึกษา ศิลปะดนตรี สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ เน้นเชื่อมโยงองค์ความรู้ ไปใช้ จัดเตรียมสื่อที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ประเมินผลแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ที่หลากหลาย

References

กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). โครงการฝึกอบรมและสัมมนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 20 มีนาคม 2562. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/ 2019/06/Finland-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%81.pdf.

กุลิสรา จิตรชณาวาณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กประถมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.

ถนอมขวัญ ทองโปร่ง และคณะ. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 124-139.

ภัทรกวี กันทรมงคล และจันทร์สุดา การดี. (2560). สภาพการใช้สื่อการสอนของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 449-460.

ภารดี ศรีลัด. (2559). หนังสือเรียนพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2564 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2561/ A/082/T_ 0001.PDF

ฤทธิไกร ไชยงาม และคณะ. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 12(2), 7-17.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2564 จาก http://www.oic.go.th/ FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER056/GENERAL/DATA0000/00000070. PDF

สริน ประดู่ และคณะ. (2562). สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 474-486.

อมรรัตน์ เตชะนอก และคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.

อัจศรา ประเสริฐสิน และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 78-89.

Coopersmith. S. (1984). SEI: Self-esteem Inventories. California: Psychologist Press Inc.

EduCluster Finland. (2017). Phenomenon - Based Learning - Developing Teacher Competences. Retrieved September 4, 2021, from http://educlusterfinland.fi/

Karlsson, P. (2016). Finding Leverage in Supporting Upper Comprehensive School Teachers with Phenomenon-Based Learning and Co-Design. Retrieved fromhttps://aaltodoc.aalto.fi/bitstream/handle/123456789/27182/master_Karlsson_Paula_2017.pdf?sequence=1.

Symeonidis, V. & Schwarz, J. F. (2020). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Retrieved September 4, 2021, from http://www.edite.eu/ wp-content/uploads/2017/11/ Phenomenon-based-teaching-and-learning-through-the-pedagogical-

World Economic Forum. (2018). The Global Competitiveness Report 2017–2018. Retrieved September 4, 2021, from www.weforum.org/docs/GCR20172018 /05FullReport/TheGlobalCompetitivenessReport%E2%80%932018.pdf

Downloads

Published

2022-06-30 — Updated on 2022-07-20

Versions

How to Cite

Kusolwong, P., Prachanban, S., & Sukpattee, P. . (2022). SITUATIONS PROBLEMS, NEEDS, AND GUIDELINES IN PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT MODEL ON RHYTHMIC ACTIVITIES APPLYING PHENOMENON-BASED LEARNING APPROACH. Journal of Buddhist Anthropology, 7(6), 178–192. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/255085 (Original work published June 30, 2022)

Issue

Section

Research Articles