การพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุการบริหารจัดการบุคลากร ในสังคมพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์การ ในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการบุคลากร, สังคมพหุวัฒนธรรม, 3 จังหวัดชายแดนใต้, องค์การยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุการบริหารจัดการบุคลากรในสังคมพหุวัฒนธรรม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุการบริหารจัดการบุคลากรในสังคมพหุวัฒนธรรม 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุการบริหารจัดการบุคลากรในสังคมพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์การในยุคดิจิทัลโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหารระดับสูง 8 คน 2) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ 4 คน และ3) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการบุคลากรในสังคมพหุวัฒนธรรม 3 คน รวม 15 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ จำนวน 400 คน พบว่า รูปแบบของการพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุการบริหารจัดการบุคลากรในสังคมพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์การในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.439 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 1.2) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านกระบวนการ และ 1.3) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.398 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.2) รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ และ 2.3) รูปแบบภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ 3) ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.288 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1) ด้านนโยบาย 3.2) ด้านโครงสร้างองค์การ และ 3.3) ด้านทรัพยากร รูปแบบในการพัฒนาของเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความสามารถขององค์การในยุคดิจิทัลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งจะสนับสนุนประสิทธิผลในการปฏิบัติงานทั้งหมดขององค์การในยุคดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพได้
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
จุไรศิริ ชูรักษ์ และคณะ. (2560). การพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ชมพูนุช ศรีพงษ์ และ คณะ. (2561). ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกำลังพลกองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 1-16.
ฐนกร บุญจันทร์. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของหัวหน้าฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาองค์การและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ตรีเนตร ตันตระกูล. (2560). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(2), 1-14.
เพ็ญภัทร์ อารี. (2563). การวางแผนการผลิตสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความต้องการสินค้าไม่แน่นอน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทคณิฐ ศรประสิทธิ์. (2559). แนวทางในการพัฒนาระบบผลิตแบบดึงสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย ม่วงภาษี. (2559). การพัฒนาสมรรถนะวิศวกรรมย้อนรอยสำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 - 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.
สุวกร อุดรเดช. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อัสณีย์ มะนอ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
C.H. Chan, S. & Mak, W. M. (2014). Transformational leadership, pride in being a follower of the leader and organizational commitment. Leadership & Organization Development Journal, 35(8), 674-690.
Certo, S. C. & Certo, S. T. (2015). Modern Management: Concepts and Skills. U.S: Pearson Education.
Durkan, J. (2017). The global integration of business functions: A study of multinational business in integrated global industries. Journal of International Business Studies, 34(4), 327-344.
Hilberg, J. S. & Meiselwitz, G. (2008). Undergraduate fluency with information and communication technology: perceptions and reality. In Ekstrom, J. J. & Stockman, M. (Ed.) SIGITE '08: Proceedings of the 9th ACM SIGITE conference on Information technology education. NY, United States: the Association for Computing Machinery (p. 5-10).
Joo, B.-K. (Brian) et al. (2012). The effects of core self‐evaluations and transformational leadership on organizational commitment. Leadership & Organization Development Journal, 33(6), 564-582.
Kasim, N. A. A. & Minai, B. (2009). Linking CRM Strategy, Customer Performance Measures and Performance in the Hotel Industry. Journal of Economics and Management, 3(2), 297-316.
Maly, T. (2015). How Digital Filmmakers Produced a Gorgeous Sci-Fi Movie on a Kickstarter BudgetWired. New Jersey: Prentice Hall.
Mason, C. et al. (2014). Transformational leadership development: Connecting psychological and behavioral change. Leadership & Organization Development Journal, 35(3), 174-194.
Mesu, J. et al. (2015). Transformational leadership and organisational commitment in manufacturing and service small to medium-sized enterprises: The moderating effects of directive and participative leadership. Personnel Review, 44(6), 970-990.
Tedre, M. (2006). The Development of Computer Science: A Sociocultural Perspective. In Berglund, A. (Ed). Baltic Sea '06: Proceedings of the 6th Baltic Sea conference on Computing education research: Koli Calling 2006. NY, United States: the Association for Computing Machinery (p.21-24).
Wheelen, T. L. & Hunger, D. L. (2008). Strategic Management and Business Policy. (11th Ed.). U.S: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.