ดาวน์โหลดเทมเพลทบทความ (Download Article Template)
ขอความร่วมมือผู้เขียนกรอกข้อมูลในระบบ submission ให้ครบถ้วน** ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
3. คำสำคัญ (keyword) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ต้องกรอกที่ละ keyword)
4. รายชื่อและหน่วยงานต้นสังกัดของผู้แต่งทุกราย
5. เอกสารอ้างอิง (references) ภาษาอังกฤษ (เท่านั้น) พิมพ์ต่อเนื่อง 1 รายการต่อการเคาะ enter 1 ครั้ง
**ในกรณีที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์
คำแนะนำผู้แต่ง
ต้นฉบับบทความเรื่องเต็มทุกรูปแบบสามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ต้นฉบับภาษาไทย ควรใช้ถ้อยคำและศัพท์ภาษาไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ตามพจนานุกรมศัพท์แพทย์อังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นบรรทัดฐาน คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่บัญญัติเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย หรือแปลแล้วเข้าใจยาก ให้ใส่ภาษาเดิมกำกับไว้ในวงเล็บหรืออนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ ต้นฉบับบทความประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนบทคัดย่อ และส่วนเนื้อเรื่อง มีความยาวรวมกันไม่เกิน 16 หน้า ทั้งนี้ ถ้าบทความใดมีความยาวมากกว่า 16 หน้า ทางกองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมอีกครั้ง โดยจัดพิมพ์ต้นฉบับบทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003 - 2016 ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK สำหรับหัวเรื่องให้ใช้ตัวหนาขนาด 18 point ชื่อผู้เขียน ขนาด 14 point สถาบันต้นสังกัดของผู้เขียนขนาด 12 point ส่วนของเนื้อหาขนาด 14 point และให้ตั้งคำหน้ากระดาษเป็นขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะจากขอบกระดาษด้านบน ด้านขวา และด้านล่าง ด้านละ 1 นิ้ว ส่วนด้านซ้ายเว้นระยะเป็น 1.25 นิ้ว จัดเป็นคอลัมน์เดียว ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น single space ทั้งนี้ในบทความควรมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับบทความอย่างน้อย 1 ภาพ เพื่อนำไปเป็นภาพปกของแต่บทความ (article cover image) นั่นเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนบทคัดย่อ
1) บทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title) ของคณะผู้วิจัย (Authors) ชื่อสถาบัน และเนื้อหา(Body) พร้อมคำสำคัญ (Keywords)
2) ชื่อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นคำนำหน้านาม (article) คำบุพบท (proposition) และคำสันธาน (conjunction) ให้พิมพ์เป็นตัวพิมพ์เล็ก
3) ชื่อคณะผู้วิจัย พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 14 point ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามหรือคุณวุฒิ และใส่ดอกจัน (asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้เขียนหลักหรือผู้ประสานงาน (corresponding author) สำหรับภาษาไทยให้เว้นวรรค 2 เคาะ ระหว่างชื่อผู้วิจัย และผู้วิจัยคนสุดท้ายให้ใส่ "และ" นำหน้าโดยไม่ต้องเว้นวรรค และสำหรับภาษาอังกฤษให้ใส่จุลภาค (comma) หลังนามสกุล ยกเว้นคนสุดท้ายให้นำหน้าด้วย "and" และไม่ต้องใส่จุลภาคหน้า "and"
4) ชื่อสถาบันขึ้นบรรทัดใหม่ พิมพ์ด้วยอักษรขนาด 12 point หากมีมากกว่า 1 สถาบัน ให้ใช้ตัวเลขยก (superscript) กำกับหน้าชื่อสถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกัน อีเมลของผู้เขียนหลักหรือผู้ประสานงานพิมพ์บรรทัดใหม่ใต้ชื่อสถาบันด้วยตัวอักษรขนาด 12 point
5) เนื้อหาในบทคัดย่อควรครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและอภิปรายผล
6) คำสำคัญ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ และมีจำนวนอย่างน้อย 3 คำ แต่ไม่เกิน 5 คำ โดยใช้คำที่สื่อความหมายในการค้นอย่างชัดเจน
ส่วนเนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่อง ประกอบด้วยบทนำ (Introduction) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Method) ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผล (Discussion) สรุปผล (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เเละเอกสารอ้างอิง (References) สำหรับบทความวิชาการอาจจะมีรูปแบบการนำเสนอหรือหัวข้อที่แตกต่างออกไปตามความเหมาะสม ทั้งนี้รายละเอียดของบทความวิจัยมีดังนี้
1) บทนำ เป็นส่วนที่อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัยหรือการศึกษา ตลอดจนสรุปผลการทบทวนวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างกระชับเพื่อส่งเสริมให้ที่มาองงานวิจัยสำคัญและชัดเจนมากขึ้น
2) วัตถุประสงค์การวิจัย อาจจะเลือกนำเสนอในรูปแบบของคำถามวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัยเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน
3) วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของการวิจัยที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
4) ผลการวิจัยและอภิปรายผล เป็นการนำเสนอผลจากการศึกษาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการวิจัยของการวิจัย ควรนำเสนออย่างตรงประเด็นและอภิปรายผลควบคู่ไปกับผลการวิจัยในแต่ละส่วน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ หรือเปรียบเทียบกับหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
5) สรุปผล เป็นการนำเสนอสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาหรือการวิจัยอย่างกระชับและเข้าใจได้ง่าย ควรมีการให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยหรือการศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย
6) กิตติกรรมประกาศ เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการศึกษา
7) จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics) หรือจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ (Animal Research Ethics) ให้ระบุการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือจริยธรรมการวิจัยในสัตว์สัตว์ พร้อมใส่หมายเลขใบรับรองด้วย (ถ้ามี) หรืออธิบายเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยที่แสดงถึงการไม่ขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ เช่น การได้ขอความยินยอมโดยใช้เอกสารจากผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence) และหลักความยุติธรรม (Justice) เป็นต้น
8) เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนรายการเอกสารที่ใช้ในการอ้างอิงในส่วนของเนื้อหาทั้งหมด โดยให้ยึดรูปแบบ APA (American Psychological Association) ในการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (โปรดดูคำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของเอกสารอ้างอิง) ดังนี้
บทความภาษาอังกฤษ
Supasorn, S. and Promarak, V. (2015). Implementation of 5E inquiry incorporated with analogy learning approach to enhance conceptual understanding of chemical reaction rate for grade 11 students. Chemistry Education Research and Practice, 16(1), 121-132.
บทความภาษาไทย
ฉัตรชฎา ติงสะ อารีรัตน์ ใจกล้า สุภาพ ตาเมือง และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2561). ผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมบัติและปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการเรียนรู้แบบสืบเสาะผสมผสานกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1), 97-108.
เขียนรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
Tingsa, C., Jaigla, A., Tamuang, S. and Supasorn, S. (2018). Twelfth Grade students’ achievement and problem-solving ability on properties and reactions of organic compounds from learning by using inquiry incorporated with problem-based learning (in Thai). Journal of Science and Science Education, 1(1), 97-108.
คำแนะนำในการเขียนเอกสารอ้างอิง (ควรอ้างอิงบทความในวารสารเป็นหลัก โดยเลี่ยงการอ้างอิงวิทยานิพนธ์เป็นหลัก)
JSSE ขอความร่วมมือผู้เขียนอ้างอิงข้อมูลบทความในวารสารเป็นหลัก (เลี่ยงการอ้างอิงวิทยานิพนธ์เป็นหลัก) โดยลำดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงอาจจะยึดลำดับคร่าวๆ ต่อไปนี้ (1) บทความในวารสารระดับนานาชาติ Q1-Q3 (2) บทความในวารสารระดับชาติในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 (3) บทความในวารสารระดับนานาชาติ Q4 (4) บทความในวารสารระดับชาติในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (4) บทความในวารสารหรือบทความฉบับเต็มจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหรือระดับชาติที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้างต้น (5) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและปริญญาโท และ (6) การค้นคว้าอิสระหรือโครงงานพิเศษหรือโครงงาน เป็นต้น วารสารนี้ใช้รูปแบบ APA ในการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา จิตวิทยา การศึกษา และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ การอ้างอิงมีข้อกำหนดตามแหล่งที่มาของเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิง และมีลำดับอักษรเรียงตามพยัญชนะ A B C ตามลำดับ เอกสารอ้างอิงแต่ละรายการให้พิมพ์ต่อกันยาวจนตกบรรทัดเอง (ใช้การเคาะ space bar ตามความหมาะสม) แต่ห้ามเคาะ enter เพื่อตัดบรรทัด ทั้งนี้ เอกสารอ้างอิงทุกรายการต้องเขียนระบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ต้องระบุภาษาที่ตีพิมพ์ไว้ในวงเล็บหลังชื่อบทความ ยกเว้นบทความภาษาอังกฤษที่ไม่ต้องระบุภาษาไว้ในวงเล็บหลังชื่อบทความ กรุณาศึกษาตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงจากตัวอย่างและคำอธิบายดังต่อไปนี้ ดังนี้
การอ้างอิงจากบทความในรายงานการประชุมวิชาการ
Author Name. (Year). Article or chapter title. In Editor Name (Ed. or Eds. if applicable). Proceedings of _______ (pp. page-page). Date (if applicable). City: Publisher.
ตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษ
Supasorn, S. (2010). Inquiry-based experiments to enhance students' conceptual understanding of organic acid-base extraction and purification. Proceedings of Pure and Applied Chemistry International Conference 2010 (pp. 180-183). January 21-23, 2010. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.
ตัวอย่างบทความภาษาไทย
ฮิกมะฮ์ อาแวกะจิ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อบ. วิจัย ครั้งที่ 9 (หน้า 388-398). วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2558. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เขียนรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
A-waekaji, H. and Supasorn, S. (2015). Development of scientific conceptual understanding of chemical equilibrium by using 5E inquiry learning cycle integrated with predict-observe-explain in the elaboration step for grade-11 students (in Thai). Proceedings of 9th Ubon Ratchathani University Research Conference (pp. 388-398). July 2–3, 2015. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือพิมพ์
Author Name. (Year, Month Date). Article title. Newspaper Name. p. page.
ตัวอย่าง
Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore modern society using the world of Star trek. Los AngelesTimes, p. A3.
การอ้างอิงจากหนังสือ
Author Name. (Year). Textbook title. City: Publisher.
ตัวอย่าง
Okuda, M., & Okuda, D. (1993). Star trek chronology: The history of the future. New York: Pocket Books.
การอ้างอิงจากบท/ตอนในหนังสือ
Author Name. (Year). Article or chapter title. In Editor Name (Ed. or Eds. (if applicable)), Textbook Title (pp. page-page). City: Publisher.
ตัวอย่าง
James, N. E. (1988). Two sides of paradise: The Eden myth according to Kirk and Spock. In D. Palumbo (Ed.), Spectrum of the fantastic (pp. 219-223). Westport, CT: Greenwood.
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือประเภทสารานุกรม
Author Name. (Year). Article title. In Encyclopedia Name (Vol. No., pp. page-page), Textbook Title (pp. page-page). City: Publisher.
ตัวอย่าง
Sturgeon, T. (1995). Science fiction. In The encyclopedia Americana (Vol. 24, pp. 390-392). Danbury, CT: Grolier.
การอ้างอิงจากเว็บไซต์
Author Name. (Year). Title. Retrieved Month Date, Year, from Website Name: URL
ตัวอย่างเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
Chapman, K. and Turner, K. (2018). The most important village in chemistry. Retrieved October 8, 2017, from Education in Chemistry: https://eic.rsc.org/feature/the-most-important-village-in-chemistry/3009670.article
ตัวอย่างเว็บไซต์ภาษาไทย
วิจารณ์ พานิช. (2562). มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2562. จาก GoToKnow: https://www.gotoknow.org/posts/285169
เขียนรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
Panich, V. (2019). University of the future (in Thai). Retrieved June 8, 2019. from GoToKnow: https://www.gotoknow.org/posts/661810
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
https://www.ams.cmu.ac.th/lib/administrator/paper/APA%206th%20New.pdf