ผลการวิเคราะห์การสะท้อนผลปฏิบัติทดลองสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ร่มเกล้า จันทราษี
จิรดาวรรณ หันตุลา
อะรุณี แสงสุวรรณ
สุเนตร ศรีบุญเลิศ
จันทร์จิรา สายแสง
ปริยพล คุนาชน

บทคัดย่อ

การสะท้อนผลเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นคุณภาพการสอนและยังคงเป็นประเด็นที่หลายประเทศต่างให้ความสนใจ  ดังนั้นกระบวนการผลิตครูควรให้ความสำคัญกับการสะท้อนผลของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยเฉพาะในรายวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาหลักและมีความสำคัญต่อการเรียนรู้  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถและรูปแบบการสะท้อนผลของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์เมื่อได้รับประสบการณ์การปฏิบัติทดลองสอนจริง  แบบแผนการวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาโดยดำเนินการศึกษากับนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน บันทึกการสะท้อนผลปฏิบัติทดลองสอนและการสัมภาษณ์นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัยพบว่าความสามารถของนักศึกษาวิชาชีพครูส่วนใหญ่จัดอยู่ในระดับการสะท้อนผลแบบเบื้องต้นและแบบผิวเผิน  นักศึกษาได้บรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมในการเรียนและการสอนของตนเอง นอกจากนี้นักศึกษายังกล่าวถึงเทคนิคหรือกลวิธีจัดการชั้นเรียนที่ใช้ให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้  ส่วนรูปแบบการสะท้อนผลจากการปฏิบัติทดลองสอนที่พบมากที่สุดคือ การสะท้อนผลแบบเบื้องต้น การสะท้อนแบบผิวเผิน ร่วมกับการสะท้อนผลแบบคำนึงถึงศาสตร์การสอน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลและได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในรายวิชาอย่างเป็นระบบสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การสะท้อนผล รวมทั้งการมอบหมายให้นักศึกษาทำชิ้นงานบันทึกการสะท้อนผลตนเองสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการสะท้อนผลได้   ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของการผลิตครูในสถาบันต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการสะท้อนผลให้มากเพียงพอเพื่อช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูนำประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

นินนาท์ จันทร์สูรย์ และนวศิษฏ์ รักษ์บำรุง. (2561). ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีในห้องเรียนเคมีโดยใช้ สถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1), 109-121.

นฤมล ยุตาคม สิริพร ทิพย์คง ชีพสุมน รังสยาธร พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และณัฐประภา เศรษฐกสิวิทย์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 37(3), 306-318.

สุชีรา มะหิเมือง. (2560). การพัฒนาองค์ประกอบของความสามารถทางการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(35), 17-32.

สุระศักดิ์ เมาเทือก เกียรติสุดา ศรีสุข น้ำผึ้ง อินทะเนตร และอุไรวรรณ หาญวงค์. (2558). การใช้การสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 13-36.

อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2556). การศึกษาครูกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อความงอกงามของคนและสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 111-116.

อรรจนา วิชาลัย และสุวัตร นานันท์. (2561). การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดร่วมกับการใช้แบบจำลองทางกายภาพ: ความเข้าใจมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การแตกตัวของกรดและเบส. วารสารวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1), 74-85.

Allan, E. G. and Driscoll, D. L. (2014). The three-fold benefit of reflective writing: Improving program assessment, student learning and faculty professional development. Assessing Writing, 21, 37-55.
Beaufort, A. (2007). College writing and beyond: A new framework for university writing instruction. Logan: Utah State University Press.

Bell, N. D. (2007). Microteaching: What is it that is going on here? Linguistics and Education, 18(1), 24-40.

Blonder, R., Rap S., Mamlok-Naaman, R. and Hofstein, A. (2015). Questioning behavior of students in the inquiry chemistry laboratory: Differences between sectors and genders in the Israeli context. International Journal of Science and Mathematics Education, 13(4), 705-732.

Carl, A. and Strydom, S. (2017). e-Portfolio as reflection tool during teaching practice: The interplay between contextual and dispositional variables. South African Journal of Education, 37(1), 1-10.

Cole, A. and Knowles, P. (2000). Researching teaching: Exploring teacher development through reflexive inquiry. Toronto: Allyn and Bacon.

Griffin, M. L. (2003). Using critical incidents to promote and assess reflective thinking in preservice teachers. Reflective Practice, 4(2), 207-220.

Grossman, R. (2009). Structures for facilitating student reflection. College Teaching, 57(1), 15–22.

Gutierez, S. B. (2015). Teachers’ reflective practice in lesson study: A tool for improving instructional practice. Alberta Journal of Educational Research, 61(3), 314-328.

Hume, A. (2009). Promoting higher levels of reflective writing in student journals. Higher Education Research and Development, 28(3), 247-260.

Kajder, S. and Parkes, K. (2012). Examining preservice teachers’ reflective practice within and across multimodal writing environments. Journal of Technology and Teacher Education, 20(3), 229-249.

Larrivee, B. (2000). Transforming teaching practice: Becoming the critically reflective teacher. Reflective Practice, 1(3), 293-307.

Larrivee, B. (2008). Development of a tool to assess teacher’s level of reflective practice. Reflective Practice, 9(3), 341-360.

Lotter, C., Singer, J. and Godley, J. (2009). The influence of repeated teaching and reflection on preservice teachers’ views of inquiry and nature of science. Journal of Science Teacher Education, 20(6), 553-582.

Luk, J. (2008). Assessing teaching practicum reflections: Distinguishing discourse features of the “high” and “low” grade reports. System, 36(4), 624-641.

Melville, W., Fazio, X., Bartley, A. and Jones, D. (2008). Experience and reflection: Preservice science teachers’ capacity for teaching inquiry. Journal of Science Teacher Education, 19(5), 477-494.

Murphy, D. L. and Ermeling, B. A. (2016). Feedback on reflection: Comparing rating-scale and forced-choice formats for measuring and facilitating teacher team reflective practice. Reflective Practice International and Multidisciplinary Perspectives, 17(3), 317-333. https://doi.org/10.1080/14623943.2016.1164681.

Oner, D. and Adadan, E. (2011). Use of web-based portfolios as tools for reflection in preservice teacher education. Journal of Teacher Education, 62(5), 477-492.

Rhine, S. and Bryant, J. (2007). Enhancing pre-service teachers’ reflective practice with digital video-based dialogue. Reflective Practice, 8(3), 345-358.

Russell, T. (2005). Can reflective practice be taught? Reflective Practice, 6(2), 199-204.

Ryan, M. (2011). Improving reflective writing in higher education: A social semiotic perspective. Teaching in Higher Education, 16(1), 99-111.

Schön, D.A. (1983). The reflective practitioner: How professionals think in action. New York: Basic Books.

Tan, A. L., Tan, S. C. and Wettasinghe, M. (2011). Learning to be a science teacher: Reflections and lessons from video-based instruction. Australasian Journal of Educational Technology, 27(3), 446-462.

Tripp, T. and Rich, P. (2012). Using video to analyze one’s own teaching. British Journal of Educational Technology, 43(4), 678-704.

Yost, D. S., Sentner, S. M. and Forlenza-Bailey, A. (2000). An examination of the construct of critical reflection: Implications for teacher education programming in the 21st century. Journal of Teacher Education, 51(1), 39-49.

Zangori, L., Friedrichsen, P. J., Wulff, E. and Womack, A. J. (2017). Using the practice of modeling to support preservice teachers’ reflection on the process of teaching and learning. Journal of Science Teacher Education, 28(7), 590-608.