การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

Main Article Content

อติมา อุ่นจิตร
ชนกกานต์ สหัสทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรระหว่างก่อนและหลังใช้แผนการสอนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ในปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน  แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 76.15/78.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรหลังเรียนสูงกว่าก่อนใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยังพบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

นพดล คาเรียง. (2549). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิจัยในชั้นเรียน. สุพรรณบุรี: โรงเรียนอู่ทอง.

นวกานต์ มณีศรี. (2555). การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วิจัยในชั้นเรียน. นครปฐม: โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย).

พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุภรณ์ สภาพงษ์. (2545). หลักสูตรใหม่นักเรียนจะเรียนรู้อย่างมีความสุขแต่มีเงื่อนไขความสำเร็จ. วารสารวิชาการ, 5, 19-21.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรศิริ เลิศกิตติสุข และดวงกมล ลิมโกมุท. (2552). การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2560 จาก ThaiGoodView: https://www.thaigoodview.com/node/42182

Bandura, A., Adams, N. E. and Beyer, J. (1977). Cognitive processes mediating behavioral change. Journal of Personality and Social Psychology, 35(3), 125-139.

Heward, W. L., Heron, T. E. and Cooke, N. L. (1982). Tutor huddle: Key element in a class wide peer tutoring system. The Elementary School Journal, 83, 114-123.

Kohn, J. J. and Vajda, P. G. (1975). Peer-mediated instruction and small group interaction in the ESL classroom. TESOL Quarterly, 4(9), 379-390.

Rom, J. CA. (1982). Peer teaching in permanent project teams. Dissertation Abstracts International, 43(August 1982), 352-A.