ความเข้าใจมโนมติ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์และรูปร่างโมเลกุล จากการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยแบบจำลองเชิงกายภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อริยา ทิพชัย
ชาลี มีวงศ์
กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา
ศักดิ์ศรี สุภาษร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์และรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ ด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยแบบจำลองเชิงกายภาพ โดยมีกลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน จากโรงเรียนตูมพิทยานุสรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะด้วยแบบจำลองเชิงกายภาพ จำนวน 12 ชั่วโมง และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจมโนมติแบบวินิจฉัยสองลำดับขั้น จำนวน 20 ข้อ โดยนักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (mean 23.64, S.D. 4.96) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 11.11, S.D. 3.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยหลังเรียนมีผลรวมร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีมีความเข้าใจมโนมติและความเข้าใจมโนมติผิด (NU+MU) ลดลงจากก่อนเรียนเป็น 2.93 และมีความเข้าใจมโนมติถูกต้องบางส่วนและผิดบางส่วน (PMU) ลดลงจากก่อนเรียนเป็น 16.38 ส่วนผลรวมร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติถูกต้องเป็นส่วนใหญ่และถูกต้องสมบูรณ์ (PU+SU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนเป็น 34.31 แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติในเรื่องนี้ของนักเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กรรณิการ์ กวางคีรี. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, Veridian E-Journal, 5(1), 255-270.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษฎา พนันชัย พนัสดา มาตราช สุภาพ ตาเมือง และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2561). ความเข้าใจมโนมติและแบบจําลองทางความคิด เรื่อง สมดุลเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการทํานาย-สังเกต-อธิบาย. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1), 49-60.

กลุ่มงานวิชาการ โรงเรียนตูมพิทยานุสรณ์. (2558). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2558. ศรีสะเกษ: โรงเรียนตูมพิทยานุสรณ์.

กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2557). แบบจำลองอะตอมโมเลกุลทางเลือกสำหรับการสอนเรื่องทฤษฎีแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5(2): 209-213.

กุลรภัส เทียมทิพร. (2559). การยอมรับการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(2): 14-23.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รวมบทความทางวิชาการ กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพ โรงเรียน ครู หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมศักด์ สิมมาเคน และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจำลองเชิงกายภาพ. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 8. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พนิดา กันยะกาญจน์ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 6 (น. 26-31). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัศยา สันสน และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การพัฒนามโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยกลวิธีจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบาย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 83-97.

ศักดิ์ศรี สุภาษร นุจรี สุภาษร วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ และสนธิพล ชัยยา. (2559). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง สารละลาย ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะร่วมกับภาพเคลื่อนไหวระดับอนุภาค สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนร้, 7(1), 28-47.

ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: ทบทวนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 22(3), 331-343.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สายรุ้ง ซาวสุภา. (2559). ชุดทดลองอย่างง่ายสําหรับหาความเข้มข้นของสารละลายนํ้าตาลด้วยค่าหักเหของแสง. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 339-349.

สุดารัตน์ ดวงเงิน และนิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2553). ผลของปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดที่มีต่อความสามารถ ในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติ และปฏิกิริยา ของสารละลายกรดเบส สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนอ ชัยรัมย์ ปุริม จารุจํารัส และมะลิวรรณ อมตธงไชย. (2561). การสํารวจความเข้าใจของนักเรียน เรื่อง สารละลาย. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(2), 152-161.

อรวรรณ หอมพรมมา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Dean, N. L., Ewan, C., & McIndoe, J. S. (2016). Applying hand-held 3D printing technology to the teaching of VSEPR theory. Journal of Chemical Education, 93(9), 1660-1662.

Dragojlovic, V. (2015). Improving a lecture-size molecular model set by repurposing used whiteboard markers. Journal of Chemical Education, 92(8), 1412-1414.

Gobert, J.D. and Buckley, B.C. (2000). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.

Hake, R. R. (1998). Interactive engagement vs traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics, 61(1), 64-74.

Louca, L. T. and Zacharia, Z. C. (2012). Modeling-based learning in science education: Cognitive, metacognitive, social, material and epistemological contributions. Educational Review, 64(4), 471–492.

Mulford, D. R. & Robinson, W. R. (2002). An inventory for alternate conceptions among first-semester general chemistry students. Journal of Chemical Education, 79(6), 739-744.

Moreno, L. F., Alzate, M. V., Meneses, J. A., & Marín, M. L. (2018). Build Your Model! Chemical Language and Building Molecular Models Using Plastic Drinking Straws. Journal of Chemical Education, 95(5), 823-827.

Windschitl, M., Thompson, J. and Braaten, M. (2008). Beyond the scientific method: Model-based inquiry as a new paradigm of preference for school science investigations. Science Education, 92, 941–967.