การพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์ด้วยแพลตฟอร์ม Arduino

Main Article Content

เอกพงศ์ บัวชุม
สุระ วุฒิพรหม
ธนิดา สุจริตธรรม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทั่วโลกได้เห็นความสำคัญกับการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน เนื่องจากการเรียนดังกล่าวทำให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้นักเรียนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ คิดทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดทักษะการแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น เช่น สามารถแตกปัญหาออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขในแต่ละส่วนได้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน แม่นยำ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญของการเรียน Coding จึงได้นำ Arduino ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์แบบโอเพนซอร์สบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน ทั้งนี้ยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ดหรือโปรแกรม ในขณะที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ และมักจะเป็นชุดคำสั่งสำเร็จรูปที่ไม่สามารถแก้ไขได้ บอร์ด Arduino ประกอบด้วย ไมโครคอนโทลเลอร์ (Microcontroller) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถคล้ายกับคอมพิวเตอร์ ใช้ควบคุมการทำงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเซนเซอร์แบบง่าย ไปจนถึงเชื่อมต่อการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย และแสดงผลแบบเรียลไทม์ (Real time) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นในนักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการนำบอร์ด Arduino มาใช้กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์ที่ทันสมัยในการทดลองเรื่องต่าง ๆ เช่น แรงลอยตัว ไฟฟ้า เสียง แสง และการมองเห็น เพื่อส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานในการนำเทคโนโลยีไปสร้างนวัตกรรมอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Arduino. (2019). Introduction to Arduino. Retrieved 8 November 2019, from https://arduino.cc

Bensky, W. C. (2018). Wi-Fi-based Wireless Sensors for Data Acquisition. The Physics Teacher, 56(6), 393-397.

Carvalho, P. S. and Hahn, M. (2016). A simple experimental setup for teaching additive colors with Arduino. The Physics Teacher, 54(4), 244-245.

Dengwansri, N., Suntarak, P., Phonchaiya, S., and Wuttisela, K. (2019). Effects of cooperative learning incorporated with application on the Android operating system to learning achievement on periodic table for grade 10 students (in Thai). Journal of Science and Science Education, 1(1), 61-73.

Espindola, P. R., Cena, C. R., Alves, D. C. B., Bozano, D. F. and Goncalves, A. M. B. (2018). Use of an Arduino to study buoyancy force. Physics Education, 53(3), 035010.

Galeriu, C., Letson, C. and Esper, G. (2015). An Arduino investigation of the RC circuit. The Physics Teacher, 53(5), 285-288.

Hahn, M. D., de Oliveira Cruz, F. A. and Carvalho, P. S. (2019). Determining the Speed of Sound as a Function of Temperature Using Arduino. The Physics Teacher, 57(2), 114-115.

Jansoon, N., and Rakbamrung, N. (2019). TPACK in chemistry classroom using PhET interactive simulations (in Thai). Journal of Science and Science Education, 1(1), 109-121.

Krongthong, T. (2017). Starting to teach 'Programming' is easy (in Thai). Retrieved 8 November 2019, from http://oho.ipst.ac.th/intro-to-programming/

Science and Technology Development Agency. (2018). Enjoying 'Kids' and 'Code' with 'KidBright' (in Thai). Retrieved 8 November 2019, from https://www.kid-bright.org/manual/article/46

Suwanphet, P. (2017). Learning and trying basic Arduino (in Thai). Retrieved 8 November 2019, from Kroo Praphas Suwanphet: https://www.praphas.com/index.php/2008-11-03-14-25-25/51-arduino/96-2-arduino