การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิคบาร์โมเดล ให้มีประสิทธิภาพไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เทคนิคบาร์โมเดล และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.95/81.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง (mean=24.47, S.D. = 1.13) กว่าก่อนเรียน (mean = 7.79, S.D. = 2.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิคบาร์โมเดลอยู่ระดับมากที่สุด (mean = 4.52, S.D. = 0.23)
Article Details
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
Aunjit, A., and Sahatsathatsana, C. (2018). The development of learning achievement on solving the linear equation with two variables through peer tutoring lesson plans for grade-9 students at Kalasin College of Dramatic Arts (in Thai). Journal of Science and Science Education, 1(2), 196-205.
Bureau of Educational Testing. (2003). Educational evaluation in classroom (in Thai). Bangkok: Bureau of Educational Testing. Department of Academic Affairs, Ministry of Education.
Intasang, S. (2015). Teaching on problem solving using bar model (in Thai). IPST Magazine. 43(194), 27-30.
Kho, T. H. (1987). Mathematical models for solving arithmetic problems. In Proceedings of the Fourth Southeast Asian Conference on Mathematical Education (pp. 345–351). Singapore: Institute of Education.
Khwankhwin, I. (2016). Development of problem solving questions of addition subtraction multiplication and division instructional package for fourth grade students using KWDL and bar-drawing technique (in Thai). In Proceedings of the 7th Hatyai National and International Conference (pp. 226-237). Songkhla: Hatyai University.
Ministry of Education, (2017). Basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) (in Thai). Bangkok: Agriculture Co-Operative Federation of Thailand.
Phalawae, N. (2014). Teaching for developing the mathematics problem solving skill based on the Polya problem solving together with bar model drawing technique for Matthayomsuksa 2 students (in Thai). Master’s Thesis. Chiangrai: Chiangrai Rajabhat University.
Phusuwan, P. (2018). The development of mathematics learning achievement on the linear equation with one variable problem solving of Matthayomsuksa 1 students of Watsuttharam School through the use of bar technique (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Ramkhanhaeng University.
Prempreeda, S. (2014). The development of exercise on mathematics problem solving through the use of
bar model of Matthayomsuksa 3 students (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Dhonburi Rajabhat University.
Sangprasert, C. (2018). The comparison of mathematics learning achievement on the application of linear equation with one variable of Matthayomsuksa 2 students through the use of problem solving of Polya together with bar Model drawing technique with the traditional teaching (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Ramkhanhaeng University.
Srikasem, P. (2018). Mathematics problem solving through the use of star method together with bar model of Matthayomsuksa 2 students (in Thai). Master’s Thesis. Chachoengsao: Rajanagarindra Rajabhat University.
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). The result of the Ordinary
National Education Test (O-Net) of Matthayomsuksa 3 in the academic year 2017 (in Thai). Bangkok: Khurusapha Latphrao Press.
Yothanan, W. (2017). The development of skills training for problem solving in mathematics by using drawing techniques Model bar of grade 6 (in Thai). Retrieved December 1, 2017, from bmamedia: http://bmamedia.in.th/bmamedia/wp-content/uploads/2017/09/math6003.pdf