การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Concrete-Pictorial-Abstract (CPA) ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

รัศมี ศิริกัมพลา
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  Concrete-Pictorial-Abstract (CPA) ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก  การลบ  การคูณ การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมแบบ CPA การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผู้เข้าร่วมวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้  แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบฝึก และแบบวัดมโนทัศน์ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมแล้วจะถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CPA ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหารควรเน้นการใช้วัตถุสร้างความเข้าใจความหมาย ความสัมพันธ์และลำดับของการดำเนินการ ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร แล้วเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในการสร้างภาพจำลองปัญหาที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อให้นักเรียนสามารถแปลความหมายของภาพจำลองสู่สัญลักษณ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

  2. ผลจากใบกิจกรรมระหว่างเรียนและแบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียน มีความสอดคล้องกัน คือ นักเรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ถูกต้องสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Angganapattarakajorn. V. (2555). Complete with things you should know for math teachers (in Thai). Bangkok: Charasanitwong Printing.

Hoe, L. N. and Jeremy. T. B. L. (2014). The role of virtual manipulatives on the Concrete-Pictorial-Abstract approach in teaching primary mathematics. The Electronic Journal of Mathematics and Technology, 8(2), 102-121.

Hoong, L. Y., Kin, H. W. and Pien. C. L. (2015). Concrete-Pictorial-Abstract: Surveying its origins and charting its future. The Mathematics Educator, 16(1), 1-18.

Hui, C. S., Hoe, L. N. and Lee, K. P. (2017). Teaching and Learning with Concrete- Pictorial-Abstract Sequence: A Proposed Model. The Mathematics Educator, 17(1), 1- 28.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2015). Trends in International Mathematics and Science Study 2015 (in Thai). Retrieved 1 February 2020, from TIMSS 2015: from://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/TIMSS2015summary

Isaraprida, P. (2006). Essential educational psychology (in Thai). Khon Kaen: Klungnanatham.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Leong, Y. H., Ho, W. K., & Cheng, L. P. (2015). Concrete-Pictorial-Abstract: Surveying its origins and charting its future. The Mathematics Educator, 16(1), 1-18.

Makanong, A. (2003). Teaching and learning (in Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education, Thailand. (2010). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.

Pananchai, K. (2018). Eleventh grade students’ conceptual understanding and mental models on chemical equilibrium from learning by using inquiry incorporated with predict-observe-explain technique (in Thai). Journal of Science and Science Education, (1)1, 49-60.

Pattanatrakoolsook, K. (2002). Why should we learn mathematics? (in Thai). Journal of Mathematics, 46, 35-39.