การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุธีพร กุลค้อ
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
มนชยา เจียงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเป็นวิธีการจัดการเรียนการรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด การค้นคว้า การนำเสนอ และการทำงานเป็นกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกล่ามวิทยาคาร อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 19 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (3) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test for one sample ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 73.13/77.11 (2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เท่ากับ 0.6314 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.14 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานคิดเป็นร้อยละ 77.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (4) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน คิดเป็นร้อยละ 73.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05

Article Details

How to Cite
กุลค้อ ส., วิริยะพงษ์ น., & เจียงประดิษฐ์ ม. (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(2), 293–302. https://doi.org/10.14456/jsse.2023.26
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Adulyasas, L. (2018). The effects of developing pre-service mathematics teachers’ technological pedagogical content knowledge (TPACK) on mathematics students’ achievement (in Thai). Journal of Yala Rajabhat University, 13(1), 115-128.

Junrat, P. (2018). Learning management for learners in the Thailand 4.0. Journal Veridian E-Journal. 11(2), 23-37.

Khor, M.K. and Ali, R.M. (2017). GeoGebra : Towards Realizing 21st Century Learning in Mathematics Education. Malaysian Journal of Learning and Instruction : Special Issues, 93-115.

Maneelam, M. and Suwannasri, P. (2021). Development of dynamic GeoGebra learning activity of prism to improve student’s 3d geometry thinking (in Thai). Journal of Science and Science Education. 4(2), 255-263.

Muhtadi, D., Wahyudin, Kartasasmita, B. G. and Prahmana R. C. I (2017). The integration of technology in teaching mathematics. Journal of Physics: Conf. Series, 943, 1-8.

Polyiem, K. (2021). The development of creative mathematics-based learning activities (CBL) in conjunction with the integration of technology in teaching specific subjects (TPACK) to develop learning achievement and creative thinking in mathematics on the subject of circles of Prathomsuksa students 6 (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Pullarp, K. (2020). The promoting creative thinking by using blended with creativity-based learning for Mathayomsuksa 4 enrichment science classroom students of Phadungnaree school (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University.

Rukchaipanit, V. (2015). Creativity-Based Learning (CBL) (in Thai). Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 23-37.

The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) (in Thai). Bangkok: The Ministry of Education.