ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษาร่วมกับแอพพลิเคชัน Miro ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกสาร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การแยกสาร หลังเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษาร่วมกับแอพพลิเคชัน Miro สำหรับรายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 28 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนโยธินบูรณะ 2 (สุวรรณสุทธาราม) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษาร่วมกับแอพพลิเคชัน Miro 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานแบบที ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 18.32 มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนเท่ากับ 25.29 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการทำชิ้นงานผ้ามัดย้อมของนักเรียนแสดงถึงพัฒนาการที่สูงขึ้นอย่างมาก และนำไปสู่นวัตกรรมการทำผ้ามัดย้อมโดยใช้วิธีการทางธรรมชาติได้ การศึกษาในอนาคตควรใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษาในเนื้อหาวิชาและระดับชั้นเรียนอื่น ๆ ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
Darunee Phengnoi. (2021). The development of creative problem solving and scientific working creation’s abilities in fifth grade students by learning activities manage education based on the concept of STEM education (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Silpakorn University.
Tayea, F., Mophan, N., & Waedrama, M. (2017). Effect of STEAM education on science learning achievement, creative thinking and satisfaction of grade 5 students towards the learning management (in Thai). Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 1–14.
Gulbin, O. and Unsal Umdu, T. (2021). Analysis of Turkish science education curricula's learning outcomes according to science process skills. Mimbar Sekolah Dasar, 8(3), 295-306.
Institute of Promoting Science and Technology Teaching. (2019). Summary of PISA 2015 in Mathematics, Reading, and Science (Full report) (in Thai). Bangkok: Paper Prints.
Ministry of education. (2017). Indicators and core learning content science learning group (revised version 2017) (in Thai). Bangkok: The agricultural co-operative federation of Thailand, Ltd.
Mussaya, B., Sirawan, J., & Apunchanit, J. (2020). Effects of learning management by using STEAM on learning achievement, creative thinking and attitude of Prathomsuksa 4 (in Thai). Journal of Education Studies, 48(2), 203-224.
Noiwong, W., and WongthongJournal, P. (2020). Learning activity based on STEAM Education that emphasizes engineering design process in topic of hydroponics for enhancing 21st century skills of upper elementary school students (in Thai). Journal of Science & Science Education, 3(2), 177-189.
Ozkan, G., & Umdu Topsakal, U. (2021). Investigating the effectiveness of STEAM education on students’ conceptual understanding of force and energy topics. Research in Science & Technological Education, 39(4), 441-460.
Pachuda Benchapich and Pariya Pariput. (2020). The development of early childhood children’s problem-solving ability through learning activity package based on STEAM education (in Thai). Journal of Roi Et Rajabhat University, 14(2), 87-95.
Pinyo Wongthong. (2020). Integrated steam education teaching practice for improving critical thinking and problem-solving abilities of first grade students in small primary school (in Thai). Journal of Education Khon Kaen University, 43(2), 3-16.
Pundita Intharaksa. (2019). Active learning management for creative problem-solving (in Thai). Udon Thani Rajabhat University Journal of GURU Education, 1(1), 35-43.
Titiya Netwong. (2016). Development of problem-solving skills by integration learning following STEM education (in Thai). Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 15(2), 1-6.
Tsailexthim, D. and Jirakittayakorn, T. (2022). The development of STEAM education model to enhance thinking skills of Srinakharinwirot University Prasarnmit demonstration school (elementary) 5th grade students. Journal of Research and Curriculum Development, 12(2), 32-38.