การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีอุปนัย

Main Article Content

สุริยัน เขตบรรจง
ฆูซัยม๊ะห์ ดาโอะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีอุปนัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้วิธีอุปนัย ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้วิธีอุปนัย กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลากเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.89

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Bruner, J. S. (1993). Explaining and interpreting two ways of using mind. In G. Harman (2nd ed.). Conceptions of the human mind: Essays in Honor of George A. Miller.

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2012). Guideline for learning management in mathematics thinking. Bangkok: Chumnumkasetakorn printing.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology IPST. (2018). Mathematical skills and processes (in Thai). Bangkok: Academic development.

Khammanee, T. (2012). Science of teaching: Knowledge for effective learning process Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Lardizabal, A. (1969). Methods and principles of teaching. Phoenix Press.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. Harper and Row.

Naoyenphon, P. (2011). The research of teaching and learning mathematics in processing package on the experience of mathematics learning (in Thai). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

National Institute of Educational Testing Service. (2020). Report on the results of the test the national level basic O-Net Grade 6, Year 2019 (in Thai). Bangkok: Public Organization.

Onnuam, D. (2008). Mathematics instruction focusing on the processes (in Thai). Mathematics Journal, 3(9), 51-65.

Phattiyathani, S. (2008). Statistical methods for research (4th ed.). Bangkok: Prasankarnpim printing.

Plangprasopchok, S., Boomprajak, S. and Pooudom, C. (2008). The survey of the problems of Thai students in mathematics (in Thai). Journal of Mathematics, 54(2), 20-28.

Promwong, C. (2013). Efficiency testing of media or instructional packages (in Thai). Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20.

Sanguansin, N. (2004). Creating a set of mathematics activities using inductive and deductive teaching techniques subject polynomials in Mathayom 3 level. Master’s Thesis. Songkla: Prince of Songkla University.

Skinner, B. F. (1957). Verbal behavior: Appleton-Century-Crofts.

Wilson, G. W. (1971). Evaluation of learning in secondary school mathematics in Handbook on formative and summative evaluation of student learning. Edited by Benjamin S. Bloom. U.S.A.: McGraw-Hill.