การยกระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนแบบรายชั้นเรียน รายบุคคลและรายเนื้อหาโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ ที่เน้นการคิดวิเคราะห์และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ (5E) ที่เน้นการคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่เน้นการคิดวิเคราะห์เรื่อง การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
t-test แบบ Dependent sample และการทดสอบค่าที t-test แบบ One sample และการเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.13 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 2) ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคอดวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาคือด้านความสำคัญ และด้านหลักการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
Budsankom, P., Sawangboon, T., Damrongpanit, S., and Chuensirimongkol, J. (2015). Factors affecting higher order thinking skills of students: A meta-analytic structural equation modeling study. Educational Research and Reviews, 10(19), 2639-2652.
Decha, S. (2018). Development of scientific achievement and analytical thinking for cell biology of organisms for grade 10 students using the 7E learning cycle emphasizing the level of inquiry (in Thai). Master’s Thesis. Chonburi: Burapha University.
Elder, L., & Paul, R. (2019). The thinker's guide to analytic thinking: How to take thinking apart and what to look for when you do. Rowman & Littlefield.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University
Khemmani, T. (2011). Analysis, Synthesis, Creative and Critical Thinking Skills: Integration in Teaching-Learning Plan (in Thai). The Journal of the Royal Institute of Thailand, 36(2), 188-204.
Nakphong, P. (2019). The development of analytical thinking skills of seventh-grade students by using problem-based learning and STAD technique (in Thai). Master’s Thesis. Nakhonprathom: Silpakorn University.
Porntrai, S. (2014). Developing academic achievement in life and environment topics using science inquiry learning emphasizing analytical thinking (in Thai). Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 5(1), 11-20.
Prasertsan, S. (2012). Research-Based Project: New Learning Process for Thai Education (in Thai). Bangkok: Thailand Research Fund.
Saenpan, V. (2010). Knowledge of science and process of learning design in science (in Thai). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Santos, L. F. (2017). The role of critical thinking in science education. Journal of Education and Practice, 8(20), 159-173.
Seepraong, C., Sirisawat, C. and Chauvatcharin, N. (2019). The development of grade 11 students’ Biology concepts of the endocrine system and scientific analytical thinking by using brain-based learning (in Thai). Journal of Inclusive and Innovative Education, 3(1), 1-11.
Songserm, M. (2018). The development of a biology instructional model to enhance analytical thinking critical thinking and problem-solving thinking skills of Mathayomsuksa six students (in Thai). Doctoral Dissertation. Chonburi: Burapha University.
Theabthueng, P., Khamsong, J. and Worapun, W. (2022). The Development of Grade 8 Student Analytical Thinking and Learning Achievement Using the Integrated Problem-Based Learning and Think-Pair-Share Technique. Journal of Educational Issues, 8(1), 420-429.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2022). PISA 2022 (in Thai). Retrieved 15 March 2023. from https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/