การวิเคราะห์และถอดความแนวคิดทางการเมืองผ่านนวนิยายเกมล่าชีวิตของซูซาน คอลลินส์

ผู้แต่ง

  • นิพิฐพนธ์ นันทะวงศ์
  • กฤต พิริยธัชกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิดทางการเมืองและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองที่ปรากฏในนวนิยายเกมล่าชีวิต โดยมุ่งทำความเข้าใจเรื่องของการเมืองในบริบทที่แตกต่างและมุมมองที่หลากหลาย ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาอย่างลุ่มลึกโดยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการศึกษาแบบตีความ (Hermeneutic) ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเกมล่าชีวิตเป็นวรรณกรรมดิสโทเปียที่มีการนำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่ควบคุมโดยผู้นำเผด็จการและคณะปกครอง โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือแสดงความคิดเห็นในทางการเมืองได้ ทำให้ประชาชนถูกทิ้งให้อยู่อย่างปราศจากอำนาจและไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะทางการเมืองและการต่อสู้ต่อการถูกกดขี่ทางชนชั้นที่เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทย จนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีการนำสัญลักษณ์การชูสามนิ้วในนวนิยายมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและใช้เป็นสัญญะในทางการเมืองเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-28