ถิ่นกำเนิดของคนไทย - จีนตอนใต้ กับความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

  บทความนี้ศึกษาถึงปัญหาและวิธีการศึกษาถิ่นกำเนิดของคนไทย – จีนตอนใต้ กับความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม โดยสำรวจและรวบรวมข้อมูลถิ่นกำเนิดของคนไทย – จีนตอนใต้ กับความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์งานเหล่านั้นโดยสังเขป ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับชนชาติไท และถิ่นกำเนิดของคนไทย จากการศึกษาพบว่า มีหลายแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการอพยพของคนไทย และการกล่าวว่าคนไทยมาจากไหน โดยมีการกล่าวอ้างจากหลักฐานต่างๆ ที่มีทั้งความน่าเชื่อและไม่มีความน่าเชื่อถือในปัจจุบัน อันประกอบด้วย 5 กลุ่มแนวคิดที่สำคัญ ซึ่งแนวคิดที่ได้รับการยอมรับการอย่างแพร่หลายจากนักวิชาการในปัจจุบันเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า คนไทยอพยพมาจากทางตอนใต้ของจีน โดยเชื่อว่าตอนใต้ของจีนเป็นถิ่นกำเนิดของคนไทย ซึ่งมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็กล่าวได้ว่า มีการศึกษาความเป็นมาของคนไทย และถิ่นกำเนิดของคนไทยมามากกว่า 100 ปีมาแล้ว แนวคิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นแนวคิดแบบชาตินิยม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความสามัคคีของคนในชาติ เนื่องมาจากช่วงเวลานั้น มีการเข้ามาของมหาอำนาจตะวันตก เพื่อขยายอำนาจ และเพื่อแสวงหาอาณานิคม ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมีการศึกษาเรื่องราวเหล่านี้อย่างจริงจัง  อย่างไรก็ดีการหาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย และถิ่นกำเนิดของคนไทย ยังมีประเด็นในการถกเถียงอีกมาก ในที่นี้ได้เป็นความพยายามทดลองนำเสนอแง่มุมของมิติทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ร่วมกับแนวคิดถิ่นกำเนิดของคนไทยของนักวิชาการที่ได้นำเสนอไว้แล้ว มีหลายแนวคิด มีทั้งแนวคิดที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างแน่ชัด ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่แต่ละแนวคิดจะนำมาสนับสนุนหรือค้นคว้ากัน และในบทความนี้ผู้เขียนจะใช้หลักทฤษฎีคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-28