การฟื้นฟูอธิปไตยทางอาหาร: มุมมองเชิงทฤษฎีทางเลือก

ผู้แต่ง

  • สันทราย วงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

       เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” ในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูอธิปไตยทางอาหาร มักจะมองความมั่นคงทางอาหารในเชิงปริมาณอาหาร กล่าวคือ บทความชิ้นนี้ มุ่งเสนอกรอบทฤษฎีที่จะช่วยในการศึกษาการต่อสู้ เพื่อฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยทางอาหาร (Food Sovereignty) ให้กลับคืนมา โดยมองผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีความมั่นคงทางอาหาร (Food security)  ทฤษฎีระบอบนคร (Urban Regime Theory) และ แนวคิดแบบองค์รวมและกลุ่มพลังทางสังคมของอันโตนิโอ กรัมชี่ (Integral State and Social Forces of Antonio Gramsci) การมีอาหารบริโภคเพียงพอจะทำได้อย่างไร หรือจะสามารถกักตุนอาหารไว้ในปริมาณมาก ๆ ได้อย่างไร มองแต่ด้านโครงสร้างระดับใหญ่ การผลิตอาหารระบบใหญ่แต่ในสภาพความเป็นจริงแหล่งอาหารประเทศไทยที่มาจากฐานการผลิตระดับชุมชนถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงด้านอาหารที่จะทำให้สังคมอยู่รอดได้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับฐานการผลิตระดับชุมชนกลับถูกทำลายลงเรื่อย ๆ จากระบบโครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนไป ดังนั้น การฟื้นฟูอธิปไตยทางอาหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้อนกลับมาหาทางออกในฐานการผลิตระดับชุมชนท้องถิ่นควบคู่กันไปกับการพัฒนาระบบการสร้าง ความมั่นคงทางอาหารด้านอื่น ๆ จึงจะเป็นการสร้างทิศทางความมั่นคงด้านอาหารที่ตรงจุดและสามารถทำให้เกิดรูปธรรมของความพยายามในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูอธิปไตยทางอาหารได้จริง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-28