พฤติกรรมการบวชของชายไทยชาวเชียงใหม่: ศึกษากรณี วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และการสำรวจวิจัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 รูป/คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ โดยการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของระดับพฤติกรรมของชายไทยชาวเชียงใหม่ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ตามพฤติกรรมของการบวช พบว่า ชายไทยชาวเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ที่มีความประสงค์ที่จะขอบวชเป็นศาสนทายาทในกลุ่มพระสงฆ์ มีจำนวน 195 คน (95.0%) มีระดับการศึกษาทางโลกอยู่ในระดับการศึกษามัธยมปลาย/ปวส./อนุปริญญา มีจำนวน 99 คน (49.5%) ไม่เคยได้รับการศึกษาทางธรรมเลย มีจำนวน 90 คน (45.0%) มีระดับช่วงอายุ 18-27 ปี มีจำนวน 110 คน (55.0%) และมีช่วงระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะบวช 1-3 เดือน มีจำนวน 90 คน (45.0%) โดยชายไทยชาวเชียงใหม่ เชื่อว่าการบวช นอกจากจะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบไปแล้ว ยังเป็นการสร้างอานิสงส์ ให้แก่บิดามารดา ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้ผู้บวช ได้เรียนรู้หลักของพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

          จากการสำรวจเชิงพฤติกรรมของชายไทยชาวเชียงใหม่ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ตามพฤติกรรมของการบวช พบว่า การบวชเป็นโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมในพุทธศาสนา มีระดับวัตถุประสงค์ตามพฤติกรรมด้านการศึกษาพระธรรมวินัยของการบวชอยู่ในระดับมากที่สุด, การบวชตามประเพณีหรือบวชแก้บน มีระดับพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการบวชที่แท้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด, มีความพึงพอใจมาแต่เด็ก ระดับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมตามปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบวชในด้านการตัดสินใจด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด, เพศบรรพชิต เป็นเพศที่กำหนดให้นักบวชมีสติกำกับตนเองอยู่เสมอ, ชีวิตนักบวชดำรงอยู่ได้เพราะศรัทธาของประชาชน และชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ต้องอดทนต่อความยากลำบาก ระดับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมตามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบวชในด้านการดำเนินชีวิตของภิกษุ-สามเณรอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28