บทบาทการบริหารการพัฒนาขององค์ทะไลลามะที่ 14 และรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบต ต่อชุมชนผู้อพยพทิเบต ในเมืองธรัมศาลา ประเทศอินเดีย

ผู้แต่ง

  • พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี
  • ศุภกิจ ภักดีแสน

คำสำคัญ:

องค์ทะไลลามะ, รัฐบาลพลัดถิ่น, การบริหารการพัฒนา, ชุมชนผู้อพยพ

บทคัดย่อ

ในปี พ.ศ. 2502 กองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้เคลื่อนทหารเข้าสู่ทิเบต เกิดการกดขี่ชาวทิเบตรวมถึงการทําลายอาคารโบราณสถานสําคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาหลายพันแห่ง ทั้งมีการสังหารพระสงฆ์ สามเณรีและผู้คนมากถึง 87,000 รูป/คน (องค์ทะไลลามะ, 2543, หน้า 193) ต่อมาในปีเดียวกันของ ปี พ.ศ. 2502 องค์ทะไลลามะ พร้อมด้วยชาวทิเบต ราว 100,000 ตัดสินใจอพยพเข้าสู่ประเทศอินเดีย (Cabezon, 2009, p. 30) จากนั้นมาในปี พ.ศ. 2503 ของเดือน พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีเนห์รูก็ได้ถวายที่พำนักถาวร แก่ องค์ทะไลลามะ ในเมืองธรัมศาลา (Dharamsala) (มิค บราวน์, 2552, หน้า 84)

19 มีนาคม พ.ศ. 2554  องค์ทะไลลามะได้สละบทบาทจากการเป็นผู้นำประเทศสู่นายลอบซัง ซังเกย์ (Lobsang  Sangay) ประธานาธิบดีของชาวทิเบตพลัดถิ่น  (President of the Central Tibetan Administration Incumbent) อย่างไรก็ตาม เราก็มิอาจปฏิเสธและมองข้ามบทบาทด้านการบริหารการพัฒนาที่สำคัญในอดีต ขององค์ทะไลลามะที่14 ที่ได้มอบไว้แด่ชุมชนผู้อพยพทิเบต โดยเฉพาะในช่วงเริ่มแรกที่องค์ทะไลลามะได้ย้ายเข้ามาในเมืองธรัมศาลา  องค์ทะไลลามะและรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตได้ร่วมกันริเริ่มโครงการ ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อผู้อพยพชาวทิเบตให้ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28