ห้างสรรพสินค้ากับการก่อตัวของคนกลุ่มใหม่ในเมืองพะเยา

ผู้แต่ง

  • ธมนวรรณ แจ่มจำรัส นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรารัตน์ ดาวสนั่น นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุภานันท์ สำเภา นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อัษฎา กำใจฤทธิ์ นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ห้างสรรพสินค้า, เมือง, ชนชั้นกลาง, วิถีชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการเปลี่ยนแปลงของเมืองพะเยาหลังการเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้า และ 2) ศึกษาการก่อตัวของคนกลุ่มใหม่ในเมืองพะเยาที่สัมพันธ์กับห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ  งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 26 คน  ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาของเมืองพะเยาตั้งแต่ทศวรรษ 2550 ส่งผลให้มีการขยายตัวของประชากรและกลุ่มคนกลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น บริเวณโดยรอบของห้างสรรพสินค้ากลายเป็นชุมชนใหญ่ที่เป็นส่วนขยายที่ตั้งออกไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของเมืองพะเยา การพัฒนาเมืองพะเยาและการก่อตั้งห้างสรรพสินค้าตั้งแต่ทศวรรษ 2550 ทั้ง 3 แห่ง เป็นระยะ ๆ มีความสัมพันธ์กับการก่อตัวของกลุ่มชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ ๆ ที่อาศัยอยู่ในเมืองพะเยาโดยประกอบอาชีพที่อยู่นอกภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น  ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าห้างสรรพสินค้า แต่ละแห่งในบริบทของการขยายตัวขึ้นของเมืองพะเยากลายเป็นพื้นที่ตอบสนองความต้องการ รสนิยมการอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการของกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ประเภทต่าง ๆ  ได้แก่ ผู้ประกอบการทางการเกษตร ผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน พนักงานบริษัทเอกชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-31