การทบทวนวรรณกรรม : รูปแบบการเข้าถึงปัญญาเรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 ด้านธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ผู้แต่ง

  • สรัญญา โชติรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ (บุญเสริม ศรีทา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

คำสำคัญ:

การทบทวนวรรณกรรม ปัญญา มหาสติปัฏฐาน 4 ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการเข้าถึงปัญญาเรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 ด้านธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ฐานธรรม) ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบทความวิจัย จำนวน 46 เรื่อง ผลการศึกษา พบว่า  1) ด้านระเบียบวิธีการวิจัย จำแนกเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 29 เรื่อง (ร้อยละ 63.0) การวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 11 เรื่อง (ร้อยละ 23.9) การวิจัยแบบผสมผสานทั้งคุณภาพและปริมาณ จำนวน 6 เรื่อง (ร้อยละ 13.0)  2) ด้านเนื้อหาสาระ จำแนกเป็น รูปแบบความหมายและวิธีการ จำนวน 14 เรื่อง (ร้อยละ 30.4)  รูปแบบฝึกสติสำหรับนักเรียนนักศึกษากับโยนิโสมนสิการ จำนวน 11 เรื่อง (ร้อยละ 23.9)  รูปแบบสถานที่ปฏิบัติธรรมกับพัฒนาปัญญา จำนวน 8 เรื่อง (ร้อยละ 17.4)  รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 7 เรื่อง (ร้อยละ 15.2)  รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวและหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 เรื่อง (ร้อยละ 13.0)   3) ด้านข้อค้นการทบทวนวรรณกรรมรูปแบบฐานธรรม พบว่า รูปแบบการเข้าถึงปัญญาฐานธรรมจากการอ่าน การศึกษาเล่าเรียน จากแหล่งที่มาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ ตำรา เป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายความเนื้อหาสาระหรือสอบถามผู้รู้ผู้ให้ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยต่าง ๆ  ล้วนเกิดจากศึกษาเล่าเรียน ตรรกะ อนุมาน โดยปัญญาเข้าถึงความจริงเป็นเพียงความรู้ความเข้าใจระดับเชาวน์ปัญญา หากลงไปปฏิบัติเป็นปัญญาภาวนามยปัญญาโดยฐานธรรมนำทาง 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20