กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมูตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • กัลยกร มณฑา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์ แขนงวิชาการเมืองการปกครอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
  • รตา อนุตตรังกูร อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

คำสำคัญ:

กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมู, การก่อตัว, ยุทธวิธี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมูตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อตัวและยุทธวิธีของกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมูตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมองผ่านแนวคิดกลุ่มผลประโยชน์และแนวคิดการจัดการกับความขัดแย้งเป็นหลัก ได้ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม คือ แกนนำและสมาชิกของกลุ่มคัดค้าน

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมู เป็นกลุ่มคัดค้านขนาดเล็ก ซึ่งรวมตัวกันเฉพาะประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 9 เท่านั้น เพื่อคัดค้านฟาร์มหมู การรวมตัวนั้นมีจุดประสงค์หลัก 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นความสำคัญของพื้นที่ในการก่อสร้างฟาร์มหมู 2) ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มหมู และ 3) ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ กลุ่มคัดค้านจึงได้ดำเนินยุทธวิธีคัดค้านใน 2 รูปแบบ คือ 1) ยุทธวิธีตามช่องทางระบบการเมืองปกติ และ 2) ยุทธวิธีขัดขวางท้ายระบบการเมืองปกติ ทั้งนี้ กลุ่มคัดค้านได้อาศัยความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในการเข้าพบผู้มีอำนาจทางการเมือง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับชาติ รวมถึงการใช้โซเชียลและสื่อมวลชน ในการคัดค้าน ซึ่งยุทธวิธีทั้ง 2 รูปแบบนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ จึงทำให้กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างฟาร์มหมูตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พบกับความพ่ายแพ้ทุกครั้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-31