แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการส่งออกสู่ประเทศจีน ด้วยการสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาล โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • ธนพล ศรีสุขวัฒนชัย นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต South China Agricultural University
  • สุทธวงศ์วดี เสนาวิน นักศึกษาหลักสูตรสัตวแพทย์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต South China Agricultural University
  • ไปเฉิน เจียง (ศาสตราจารย์ ดร). South China Agricultural University,

คำสำคัญ:

นโยบายภาครัฐ, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, การตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, ประเทศจีน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลประเมินภาพรวมเกี่ยวกับ นโยบายของภาครัฐรวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค จุดแข็งและจุดอ่อนของ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกำหนดประเด็นที่สำคัญ ต่อการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกในประเทศจีน ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการกำหนดนโยบายให้ หน่วยงานของภาครัฐ และธนาคารในกำกับของรัฐ เป็นผู้ผลักดันสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สู่ประเทศจีน โดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาสินค้า อบรมความรู้ พัฒนามาตรฐานและบรรจุภัณฑ์ จัดสรรช่องทางจัดจำหน่าย ตลอดจนสนับสนุนการเงินต้นทุนต่ำ รวมถึงเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบภาครัฐ ส่วนด้านพฤติกรรมผู้บริโภคของประชาชนในประเทศจีน พบว่า ผู้บริโภคในประเทศจีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เมื่อนำข้อมูลด้านภาครัฐและด้านพฤติกรรมผู้บริโภค มาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน  โอกาส และอุปสรรค ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือ ผู้ประกอบการต้องพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศจีน โดยแยกแต่ละมลฑล เช่น มลฑลที่มีกำลังซื้อจำนวนมาก ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ผู้ประกอบการจะต้องทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับมลฑลที่มีกำลังซื้อน้อย ผู้ประกอบการจะต้องแสดงให้ผู้บริโภค เห็นถึงความคุ้มค่า และเน้นประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้านั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเน้นให้ผู้ประกอบการทำการจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร เพื่อป้องกันการทำซ้ำและ การลอกเลียนแบบ ซึ่งเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-31