มาตรการกักขังแทนค่าปรับกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ผู้แต่ง

  • ศิวรุฒ ลายคราม สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • เศรษฐาวิชญ์ นาคเพ็ง สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • กัญญาณัฐ แก้วกุ้ง สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ณุวัฒน์ ตาตุ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

การกักขังแทนค่าปรับ, ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ, บริการสังคม, หลักความเสมอภาค, หลักความได้สัดส่วน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการกักขังแทนการปรับกักขังแทนค่าปรับเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นมาตรการที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อศาลสั่งลงโทษปรับผู้ต้องโทษปรับที่มีฐานะร่ำรวยสามารถจ่ายค่าปรับตามใบเรียกเก็บเงินของศาลได้ แต่ในทางตรงกันข้ามต้องโทษปรับมีฐานะยากจนจะไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการจำกัดเสรีภาพและไม่สามารถจ่ายค่าปรับได้ บทความนี้จะนำเสนอแนวทางทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ต้องโทษปรับที่มีฐานะร่ำรวยและผู้ต้องโทษปรับที่มีฐานะยากจน หากในกรณีที่ผู้ต้องโทษไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดหรือใช้แทนค่าปรับรวมทั้งผู้ต้องโทษไม่ไม่สามารถให้บริการสังคมเพื่อประโยชน์สาธารณะแทนค่าปรับได้ จึงจำเป็นต้องหามาตรการทางกฎหมายรองรับที่สามารถแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและการถูกจำกัดเสรีภาพ ปัจจุบันมีปัญหาหลายประการเกี่ยวกับอัตราโทษคงที่สำหรับผู้ต้องโทษเนื่องจากกฎระเบียบไม่คำนึงถึงฐานะของผู้ต้องโทษปรับแต่ละคน บทความวิชาการนี้จึงเสนอแนวทางในการกำหนดอัตราโทษใหม่ให้ มีความสอดคล้องกับรายได้ของผู้ต้องโทษปรับในแต่ละคนและแต่ละวัน อาทิ หลักความเสมอภาคของค่าปรับอาจจะให้ชำระเป็นงวด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกักขังแทนค่าปรับโดยพิจารณาจากหลักการสัดส่วน คำแนะนำจากประธานศาลฎีกาเพื่อให้ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีมีฐานะร่ำรวยสามารถจ่ายค่าปรับโดยไม่มีเหตุการถูกจำกัดเสรีภาพ

References

Chinanawin, C. (2015). Inequality in the Process of Justice. Journal of Human Society Review, 17(2), 82. Retrieved from http://hs.pbru.ac.th/phocadownloadpap/hs_magazine/2_2558/7.pdf

Laikram, S., & Pathak, S. (2021). Legal Implications of Being a Prostitute Amid COVID-19 : A Gender Based Research in Thailand. ABAC Journal, 41(3), 90-109.

_____. (2021). Public Procurement Regulation: Increasing Developing Integration in Asean. Journal of Legal, Ethical and Regulatory Issues, 6, 1-14.

Laikram, S., & Pathak, S. (2022). The effectiveness of corporate law on agency issues in ASEAN's developing countries. Kasetsart Journal of Social Sciences.

Office of the Council of State. (2022). Constitution of the Kingdom of Thailand. Retrieved from Office of the Council of State: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=774606&ext=htm.

Office of the Council of State. (2022). Criminal Code of Thailand. Retrieved from Office of the Council of State: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=htm.

Office of the President of the Supreme Court. (2022). Recommendation of the President of the Supreme Court on the guidelines for the use of criminal penalties , B.E. 2020. Retrieved from Office of the President of the Supreme Court: https://opsc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/1145/iid/221573.

Pakau, S. (2020). Double Standard: Unequal Equality in Thai Society. Journal of MCU Humanities Review, 6(1), 337.

Pandam, K. (2014). The enforcement of fines: a study of the case of forced work in lieu of fines. Retrieved from National Research Council of Thailand (NRCT): https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/285688

Raksakaew, P. (2021). CREATING EQUALITY IN SOCIETY: CONCEPTS BASED ON GOOD GOVERNANCE. Journal of the Social Science Perspective, 10(1), 335-336.

Soonthornanantachai, T. (2017). The Equality, Equity and Social Justice with the Social Welfare of Thailand. huachiew chalermprakiet law journal, 7(2), 52-65.

Suksri, P. (2021). General Administrative Laws in Judgments of the Supreme Administrative Court : A Study of Proportion and Equity Principles. Retrieved from Administrative Court: https://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Academic/Academic_030216_133205.pdf

Techasomboon, S. (2018). Complementary measures in lieu of fines in petty cases. Retrieved from National Defense College: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8546p/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

Thipbunsap, S. (2009). Criminal Execution: Study of the enforcement of fines. Retrieved from National Research Council of Thailand (NRCT): https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/216061

Vajanasawad, K. (2008). Explanation of Criminal Law Part 1. Bangkok : Pol Siam Printing Thailand.

Wijitvetkarn, N. (2016). Equality of the people's rights under the Constitution. Retrieved from Constitution College, Institute of Constitutional Studies Office of the Constitutional Court: http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/document/documents/documents/IS4H_590410.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30