การใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุก (active learning) P.I.L. Model ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษากับการสื่อสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

ผู้แต่ง

  • พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วิภาษณ์ เทศธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พีรพงษ์ แสนสิ่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูธีรธรรมานุยุต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุก, ภาษากับการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเรื่องภาษากับการสื่อสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุกกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุกรายวิชาภาษาไทยเรื่องภาษากับการสื่อสาร 3) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุกที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนของของคณะศึกษาศาสตร์ศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย และ 4) นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุกรายวิชาภาษาไทยเรื่องภาษากับการสื่อสารของคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทยไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย โดยใช้กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 30 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุกในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษากับการสื่อสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผลการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (m= 13.80) ผลการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (m= 27.06) เมื่อพิจารณาการเปรียบเทียบพัฒนาการโดยใช้ Independent Sample t-test พบว่ามีสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติที่ระดับ .05 แบบประเมินรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงและการประเมินความพึงพอใจเป็นแบบประเมินเพื่อให้นักศึกษาได้พิจารณาถึงระดับความรู้สึกและระดับการปฏิบัติในการรูปแบบการเรียนเชิงรุก โดยผู้วิจัยได้ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน และนักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน รวม 20 คน อภิปรายผลได้ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (m = 3.50) 2) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (m = 4.12) 3) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (m = 3.62) 4) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านพุทธิพิสัย มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (m = 4.20) 5) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านเจตพิสัย มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (m = 4.12) และ 6) รูปแบบการเรียนเชิงรุกด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (m = 4.00) ตามลำดับ ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการรูปแบบการเรียนเชิงรุกมีในระดับปานกลาง (m = 3.92) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรูปแบบการเรียนเชิงรุกมีความเหมาะในด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านพุทธิพิสัย ด้านเจตพิสัย และด้านทักษะพิสัย เป็นต้น ซึ่งได้สอดคล้องกับการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy) และรูปแบบการเรียนเชิงรุกมีความเหมาะสม สามารถนำไประยุกต์ใช้ในการเรียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10