การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชน ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พศวีร์ พงษ์พิชิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูธีรธรรมานุยุต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปรรณพัชญ์ จิตร์จำนง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักสังคหวัตถุธรรม, การดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 5 คน จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้เทคนิค  การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทกรอบงานวิจัย โดยรวบรวบข้อมูลระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย

            ผลการวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสมานัตตตา (ความเสมอต้นเสมอปลาย) รองลงมาคือ ด้านปิยวาจา (วาจาสุภาพ หรือวาจาเป็นที่รัก) และด้านอัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทาน (การให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) ตามลำดับ 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  1) ด้านทาน (การให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)  ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวบ้านในชุมชน มีพื้นที่ให้ชาวบ้านได้พบปะพูดคุยกัน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรเป็นแบบอย่างในการเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน และสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน  2) ด้านปิยวาจา (วาจาสุภาพ หรือวาจาเป็นที่รัก)  ได้แก่ การคิดก่อนพูด  มีสติในการพูด ใคร่ครวญระมัดระวังคำพูดของตนเอง  และมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีความสุภาพ พูดด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม  3) ด้านอัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)  ได้แก่ การปฏิบัติและเป็นแบบอย่างในการประพฤติที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนให้เป็นคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คิดถึงส่วนรวม และ 4) ด้านสมานัตตตา (ความเสมอต้นเสมอปลาย) ได้แก่ การปฏิบัติตนตามฐานะ บทบาทของตนเองในสังคม และบทบาทหน้าที่ของตัวเองด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10