ศีลและทิฏฐิในพรหมชาลสูตรเพื่อชีวิตที่ดีงาม

ผู้แต่ง

  • พระสุวัจน์ สุจิตฺโต (สายสุวรรณ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วิระยา พิมพ์พันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปริยัติสาธร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศีลและทิฏฐิ, พรหมชาลสูตร, เพื่อชีวิตที่ดีงาม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“ศีลและทิฏฐิในพรหมชาลสูตรเพื่อชีวิตที่ดีงาม”ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินชีวิตที่ดีงาม ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนในการที่จะดำเนินชีวิตของสังคมในแง่ของความคิดเห็นที่แตกต่างกันทุกแง่มุมของสังคมไม่ว่าจะเป็นสภาพปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน การใช้ความรุ่นแรงโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นการนำหลักธรรมเรื่องศีลและทิฏฐิ มาปฏิบัติใช้ในสังคมจึงถือเป็นแนวทางที่ถือได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนหมู่มาก สิทธิมนุษยชนและหลักของศีลและทิฏฐิ ในพระพุทธศาสนาล้วนมีการส่งเสริมให้ปฏิเสธกระทำความชั่ว สนับสนุนให้กระทำความดีต่อกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ และพัฒนาชีวิตของคนในสังคมให้เข้าถึงสันติสุขทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมตลอดไป ในพระพุทธศาสนา ปรากฏหลักธรรมเรื่องศีลและทิฏฐิในพรหมชาลสูตร กล่าวถึงเรื่อง ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกล่าวชื่นชมในพระพุทธศาสนา คำสอนนี้สอนให้ตระหนักถึง เสรีภาพแห่งความคิด มโนธรรม หรือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม สอดคล้องตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อคนในสังคมมีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาย่อมส่งผลให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนลดน้อยลง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความสงบสุข สันติ เอื้ออาทรต่อกัน คนในสังคมมีความรักใคร่ปรองดอง ซึ่งจะเป็นเหตุเป็นผลให้การพัฒนาความเป็นอยู่และดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุขอย่างดีงามตลอดไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10