การสำรวจองค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • มาธินี คงสถิต Suansunandha rajabhat university
  • พิจักษณ์ ภู่ตระกูล

คำสำคัญ:

การสำรวจองค์ความรู้, ภาวะผู้นำ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจองค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และด้านผลการศึกษา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดของ Paterson, Thorne, Canam and Jillings (2001) มาเป็นกรอบแนวทางในการสังเคราะห์เอกสาร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโทและเอก จำนวน 28 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำในท้องถิ่นพบมากในปี พ.ศ.2553 โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีการผลิตผลงานด้านภาวะผู้นำมากที่สุดจำนวน 6 เรื่อง โดยงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาโท 2) ด้านแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านวิธีวิทยาการวิจัย การใช้รูปแบบการการวิจัยเชิงปริมาณ มากที่สุด จำนวน 19 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 67.85 อันดับรองลงมา ได้แก่ รูปแบบการวิจัย การวิจัยผสมผสาน จำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 17.85 และรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 14.28 ตามลำดับ ด้านผลการศึกษาสามารถจำแนกได้ออกเป็น 5 ด้านคือ 1) รูปแบบภาวะผู้นำ
2) ภาวะผู้นำ 3) ด้านคุณลักษณะผู้นำ 4) ศักยภาพของผู้นำ และ 5) องค์ประกอบของภาวะผู้นำ

References

กวี วงค์พุฒ. (2542). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล. (2543). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนครพนม ตามทัศนะของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาและผู้นำท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธวัชชัย โตจีน. (2544). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกเทศมนตรี ตามทัศนะของพนักงานเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาล จังหวัดสระแก้ว. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2552). ความก้าวหน้ากระบวนการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). ภาวะผู้นำและแนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 2(1),121-148.

เมธี ปิลันธนานนท์. (2525). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.

Bass, B. M. (1990). Bass & Stogdill’s handbook of leadership : Theory, research, and managerial applications. 3rd edition. New York: Free Press.

Petrick, J. A. & Furr, D. S. (1995). Total quality in managing human resources. Delray Beach,Fla: St.Lucie Press.

Paterson, B. L., Thorne, S. E., Canam, C., & Jillings, C. (2001). Meta-study of qualitative health research: A practical guide to meta-analysis and meta-synthesis (Vol. 3) Sage.

Yukl,G. (1999). An evaluation of conceptual weaknesses in transformational and charismatic leadership theories. The Leadership Quarterly, 10(2),285-305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30