การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคพิเศษ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคพิเศษ 2) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคพิเศษ จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคพิเศษ จำนวน 162 คน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหา วชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคพิเศษ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง รองลงมา คือ ด้านการใช้สิทธิทางการเมือง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการรณรงค์ทางการเมือง ตามลำดับ
References
เกียรติพนธ์ ประทุมรัตน์. (2547). “ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร: ศึกษากรณี กรมการทหารช่างจังหวัดราชบุรี”. งานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยา ช่างสากล. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเขอำเภอบ้านแพงจังหวัดนครพนม. ใน การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชาวฤทธิ์ ประภาจิตร์. (2554). บทบาทของทหารกับการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย: กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของข้าราชการทหารสังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. ใน รายงานวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า.
ณัฐิดา ศรีกันทา. (2546). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพนักงานธนาคารในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นัฏฐิกาล ศรีจันทร์โท. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิตยา สุเพียร. (2546). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาสมุทรสาคร : กรณีศึกษาสถานศึกษาระดับประถมศึกษา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏนครปฐม.
บุญเยี่ยม อยู่คง. (2550). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. ใน รายงานวิจัย. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยนครสวรรค์.
ประหยัด หงษ์ทองคำ . (มปป.). การพัฒนาทางการเมืองโดยกระบวนการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พาพาส.
พัชรี พงษ์ศิริ. (2541). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการ กรมการจัดหางาน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภณธกร กุลสันต์,ว่าที่ร้อยตรี. (2550). อิทธิพลของสื่ออินเตอร์เน็ตต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการ: กรณีศึกษาศาลากลางจังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รังสิวุฒิ ชำนาญงาม. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์”.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วราวุธ เด่นแพทย์ชยางกูร. (2545.) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. ใน งานวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2566 จาก https://recc.erc.or.th/index.php/2015-07-07-07-53-46/464-2010-02-01-08-32-5
อักษร ทองพลอย. (2554). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กรณีเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2554. ใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
อารีรัตน์ พัฒนโสภณพงศ์. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ของข้าราชการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ใน งานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.