การใช้วรรณศิลป์ในนิทานท้องถิ่นอีสาน เรื่อง “ตำนานผาแดง-นางไอ่”

ผู้แต่ง

  • กิตติยา คุณารักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ประณิตา จันทรประพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • มาโนช นันทพรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วรรณศิลป์, พื้นที่ทางจิตวิญญาณ, พื้นที่ทางกายภาพ, นิทานท้องถิ่นอีสาน, ตำนานผาแดง-นางไอ่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณศิลป์ด้านการบรรยายภาพในนิทานท้องถิ่นอีสาน  เรื่องตำนานผาแดง-นางไอ่ ประพันธ์โดยกิตติธร คชทีป เค้าเรื่องจาก ส.พยัคฆ์ (อาจารย์สุทธา โสภากุล) ซึ่งประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพหรือกลอนแปด เป็นนิทานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสานในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 6 ตอน ได้แก่ แต่ปางก่อน, ปัจจุบันชาติ, แข่งบั้งไฟ, ล่ากระรอกด่อน, ชคิตาล่ม และลั่นกลองรบ สะท้อนให้เห็นความเชื่อโบราณของคนในสมัยล้านช้าง ทั้งความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาและสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีการปฏิสัมพันธ์กับชีวิตของคนอีสาน โดยผู้เขียนศึกษาใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การบรรยายภาพพื้นที่ทางจิตวิญญาณ พบว่ามีการบรรยายภาพเมืองบาดาล ภาพความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่น ภาพวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนา และภาพหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนา
ซึ่งปรากฏทั้งแนวคิดเรื่องกรรม แนวคิดเรื่องธรรมะ แนวคิดเรื่อง ความรัก และแนวคิดเรื่องความกตัญญู 2) การบรรยายภาพพื้นที่ทางกายภาพ พบว่าเป็นการบรรยายภาพความงามของสตรี ภาพถิ่นฐานบ้านเมือง ภาพชื่อบ้านนามเมือง ภาพธรรมชาติแวดล้อม ภาพสงครามระหว่างมนุษย์กับพญานาค และภาพสถานที่สำคัญทางธรรมชาติ

References

กิตติธร คชทีป. (2555). ตำนานผาแดง-นางไอ่. อุดรธานี: วัดโนนธาตุเจดีย์.

กิตติยา คุณารักษ์. (2564). พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของตรี อภิรุม : ความหมายและการประกอบสร้าง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธวัช ปุณโณทก. (2542). ภาษาถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พจนี ศิริอักษรสาสน์. (2545). ภาษาถิ่นของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรทิพย์ ซังธาดา. (2539). วรรณกรรมท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2547). มองภาษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แม่คำผาง.

พิชัย ศรีภูไฟ. (2532). สตรีไทยในวรรณกรรมอีสาน. ใน ปริญญานิพนธ์ (ศศ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2536). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สน สีมาตรัง. (2550). คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยา ในจิตรกรรมฝาผนังไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิศเรศ ดลเพ็ญ, (2562). “โลก-ธรรม”-“ทุกข์-สุข” และภูมิปัญญาด้านภาษาในกาพย์เซิ้งบั้งไฟผาแดงนางไอ่. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(1), 176-211.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29