อิทธิบาทธรรม 4 กับการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • พระมหาฉัตรชัย ธมฺมวรเมธี (ทันบาล)
  • พระมหาโยธิน มหาวีโร (มาศสุข) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • แสงสุรีย์ ทองขาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประฤดี ชูศรีวาส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อิทธิบาทธรรม, การศึกษา, การส่งเสริม, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษา มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้มนุษย์สามารถกำหนดทิศทางวิถีชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่อง ถูกต้อง เหมาะสม ดีงามและตั้งอยู่บนบรรทัดฐานการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุขได้อย่างสมบูรณ์แบบ ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและเครื่องอำนวยความสะดวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทั้งสิ้น แต่ว่าประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตของผู้เรียนกลับน้อยลงไป ในแต่ละปีก็ยังมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาของไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านสวัสดิภาพชีวิต รวมไปถึงสวัสดิภาพตลาดแรงงานราคาค่าจ้างต่ำนำไปสู่ปัญหาทางสังคมการศึกษาตลอดชีวิต เป็นอีกทางเลือกหนึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้ความรู้อย่างถูกต้องเพื่อให้เขาสามารประคับประคองตนเองได้ในการดำเนินชีวิต ด้วยการส่งเสริมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำหลัก  อิทธิบาทธรรม 4 ประการ ได้แก่
1.ฉันทะ คือ ความพึงพอใจ 2.วิริยะ คือ ความเพียร 3.จิตตะ คือ ความใส่ใจ และ 4.วิมังสา คือ ความไตร่ตรอง มาใช้เพื่อให้สร้างภูมิคุ้มกันได้หากประสบพบเจอกับปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในอนาคต และสามารถตั้งตนบนหลักธรรมมีความรู้และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความผาสุก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (12 ต.ค. 2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. เรียกใช้เมื่อ 28 มี.ค. 2566 จาก https://www.moe.go.th.

จักรวุฒิ ชนะพันธ์ และคณะ. (2558). รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบริหารการศึกามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 157-165.

จุฑารัตน์ จันทร์ประคอง และคณะ. (2564). องค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 244-258.

ดุษณี ดำมี. (2557). การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. Mahidol R2R e-Journal, 1(2), 11-30.

ธิติรัตน์ สมบูรณ์. (17 ส.ค. 2565). อุปนิสัย “ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต”สร้างได้ นักวิจัย ครุศาสตร์ จุฬาฯแนะวิธี. เรียกใช้เมื่อ 25 ม.ค. 2566 จาก https://www.chula.ac.th.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พระมหาโยธิน มหาวีโร และคณะ. (2565). ศึกษาการจัดการเรียนการสอนตามไตรสิกขาสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(3), 65-80.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

มลธิดา อุบลรัตน์. (2565). หลักอิทธิบาทธรรม 4 : เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้มีความสุข. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2), 150-161.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(26), 159-175.

สมพงษ์ จิตระดับ. (3 พ.ย. 2564). กสศ. ระดมสมองหยุดปัญหา “เด็กหลุดจากระบบการศึกษา”. เรียกใช้เมื่อ 18 มี.ค. 2566 จาก https://www.eef.or.th.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (11 ก.ค. 2565). “พาน้องกลับมาเรียน” โครงการสำคัญ ศธ. ตั้งเป้าพาเด็กหลุดระบบการศึกษา กลับเข้าเรียน 100%. เรียกใช้เมื่อ 15 มี.ค. 2566 จาก https://ops.moe.go.th.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช). (9 ธ.ค. 2564). รายงานการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong learning ) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก. เรียกใช้เมื่อ 12 มี.ค. 2566 จาก https://www.nxpo.or.th.

สุปราณี สาระรัตน์. (2564). การใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ. วารสารปัญญา, 28(2), 95-110.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (13 มี.ค. 2561). สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society). เรียกใช้เมื่อ 28 ม.ค. 2566 จาก trueplookpanya.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30