การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พิชิต ชัยมาลา วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • สัญญา สดประเสริฐ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • พระปลัดประพจน์ สุปภาโต วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

การบูรณา, พุทธจิตวิทยา, ผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี 2. เพื่อบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอธัญบุรี และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุริ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ ทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15คน ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ปัจจัยในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านตนเอง รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาวะสังคม ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านเพื่อน ตามลำดับ การพัฒนากิจกรรมแก้ไขผู้ต้องขังให้เกิดความเหมาะสม โดยได้นำแนวคิดการป้องกันการกระทำผิดซ้ำตามหลักพุทธจิตวิทยา มาเป็นกระบวนการสร้างจริยธรรมเชิงพุทธบูรณาการสำหรับผู้ต้องขัง และการพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญา ทำให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลก และชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลส และปลอดพ้นจากความทุกข์

References

จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ. (2550). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวลิต กลิ่นแข. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก.

นคพัฒน์ สินเย็นมนูญ สำเร็จและคณะ. (2564). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน.

นงนุช โกมลหิรัณยและคณะ. (2563). ปัญญาบำบัด: นวัตกรรมการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังอย่างยั่งยืน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น และคณะ. (2542). พฤติกรรมของมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเธิร์ดเวฟ เอ็คดูเคชั่นจำกัด.

ปิรัชญาภรณ์ บุญชู. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษธนบุรี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระอธิการสุพิศ ทรงจิตรและคณะ. (2562). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบำบัดและลด ปัญหาการกระทำผิดซ้ำของ เยาวชนติดยาเสพติด: กรณีศึกษา วัดโนนสูงวนาราม ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์.

มานะ รักษ์วงศ์. (2564). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงและตามความคาดหวังของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia.

เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29