แบบจำลองการพัฒนาตลาดการค้าปลีกริมน้ำ เพื่อการพึ่งพาตนเองของพื้นที่ริมคลองลาดพร้าวโดยชุมชนมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ธมลวรรณ ธีระบัญชร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • มณฑล จันทร์แจ่มใส มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุรางค์รัตน์ แสงสี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ตลาดน้ำ ทุนชุมชน คลองลาดพร้าว การพัฒนาตลาด การค้าปลีก

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่า ชุมชนต่างๆ นั้นมีศักยภาพทางการผลิตสินค้าตลอดจนบริการ อย่างไรก็ตามพบว่า การดำเนินการดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน อันเนื่องมาจากปัญหาด้านการจัดจำหน่าย ทั้งนี้ หนึ่งในหลายวิธีที่จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือ การจัดตั้งตลาดโดยการรวมตัวกันของสมาชิกในชุมชนที่มีศักยภาพในการผลิต เพื่อทำให้เกิดเป็นสถานที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตามในการจัดตั้งตลาดได้นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐที่ดูแลตลาด เช่น เทศบาล สำนักงานเขต เป็นต้น โดยข้อกำหนดกล่าวถึง ลักษณะแผงค้า ทางเท้า ที่จอดรถ ห้องน้ำ บริเวณทิ้งสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องกับชัยภูมิที่ตั้ง ศักยภาพชุมชนและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ งานวิจัยเรื่องการสำรวจทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาตลาดค้าปลีกริมน้ำของชุมชนริมคลองลาดพร้าว พบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการจัดตั้งตลาดได้ จึงนำมาสู่งานวิจัยเพื่อพัฒนาแบบจำลองการพัฒนาตลาดการค้าปลีกริมน้ำเพื่อการพึ่งพาตนเองของพื้นที่ริมคลองลาดพร้าวโดยชุมชนมีส่วนร่วมกรุงเทพมหานคร โดยแบบจำลองดังกล่าวมีการพัฒนามาจากการศึกษาศักยภาพชุมชน และ

ความต้องการผู้บริโภคเป็นฐาน ซึ่งมีข้อค้นพบว่าปัจจัยพื้นฐานในการจัดตั้งตลาดควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 11 ประการ ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการสร้างแบบจำลองตามองค์ประกอบดังกล่าวที่สอดรับกับข้อบังคับการจัดตั้งตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการนำไปใช้ในการนำเสนอต่อหน่วยงานรัฐเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป และยังใช้เป็นแบบจำลองต้นแบบในการพัฒนาตลาดชุมชนและตลาดค้าปลีกริมน้ำอื่น ๆ ได้อีกด้วย  

References

ชัยฤทธิ์ ทอดรอด และคณะ. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 197-210.

ทวีศักดิ์ แสวงลาย. (2555). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค: กรณีศึกษาตลาดสีเขียวสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 31-42.

ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภคในตลาดนัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(1), 136-144.

ทัศนา หงษ์มา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อในตลาดนัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 122-138.

ปาริชาติ วงษ์ทองดี. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค ในตลาดนัดสวนจตุจัตร กรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 20-35.

พรพิมล สระทองนัง และคณะ. (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 125-140.

เพชรินทร์ อยู่เป็นสุข และเจริยญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคต่ออาหารประเภทฟู้ดทรัค กรณีศึกษาในตลาดนัดหัวมุม ถนนเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 130-154.

เพ็ญพร ปุกหุต. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค ณ ตลาดท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(1), 90-110.

ลาวัลย์ พงษ์สุวรรณศิริ. (2563). แนวทางการพัฒนาตลาดสินค้านำเข้ามือสอง กรณีศึกษา ตลาดนัดมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(5), 110-128.

ศิริกานดา แหยมดง. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์, 23(2), 65-82.

สุวรรณา นาถนวผดุง และพัชราภา แสงสว่าง. (2565). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารริมทาง ณ ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 8(2), 60-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30