การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิรรรยาย์ พูลเกิด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชีพ เบียดนอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมอาชีพ;, การสร้างรายได้;, ผู้สูงอายุ;, เขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ และ (3) เสนอแนวทางการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 21  คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า  1) การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ  กรุงเทพมหานครนั้น ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จึงมีการจัดโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้  โดยมีการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาทักษะฝีมือผู้สูงอายุทั้งระยะสั้นและระยะยาว ได้ใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดัน

การจ้างงานผู้สูงอายุให้มากขึ้น มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ สร้างแรงกระตุ้นแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนให้มีการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ  ตลอดจนความช่วยเหลือการทำตลาดออนไลน์ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ 2) ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ พบว่า จากสภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่งผลต่อทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีในทิศทางลบ ทำให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับโอกาสในการจ้างงาน ในขณะที่ผู้สูงอายุเองก็ปลีกตัวออกห่างจากสังคม  ไม่ยอมกลับเข้าสู่ระบบการทำงาน  และ
3) แนวทางการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ได้แก่  ควรเริ่มจากการเสริมสร้างความแข็งแรงด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อห่างไกลโรค  เพิ่มมาตรการในการสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการทำงาน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุ แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เทพเพ็ญวานิสย์.

ฉัตรพร ถมกระจ่าง. (2565). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ชีวิติของโรงเรียนผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุเลย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชวลิต สวัสดิ์ผล. (2563). นโยบายการทำงานและการจ้างงาน ผู้สูงอายุ: ข้อสังเกตบางประการ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(1), 117-132.

ชลัยพร อมรวัฒนา และคณะ. (2551). การสังเคราะห์โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทยา อิทธิชินบัญชร.(2559). แนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ. ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 111-121.

นราวุฒิ นุชนาคา. (2563). แรงงานผู้สูงอายุกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ในพื้นที่ตำบลราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัสมล บุตรวิเศษ, อุปริฏฐา อินทรสาด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

พายุ นาวาคูระ. (2564). แนวทางการพัฒนาอาชีพสาหรับผู้สูงอายุของบ้านหนองบ่อ ตาบลหนองบ่ออำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยสังคมสาร (มมส), 19(3), 21 42.

ภัทรา สุขะสุคนธ์ และคณะ. (2564). แนวทางการสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนใน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 73-84.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานการสังเคราะห์ข้อมูลจากเวทีวิชาการมโนทัศน์ใหม่ นิยามผู้สูงอายุและการขยายอายุเกษียณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและ พัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วรโชติ โพธาราม. (2563). การสร้างรายได้ในยุคสมัยใหม่ สำหรับผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 21 สิงหาคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/en/article-view/making-modern-for-elderly

วิชช์ เกษมทรัพย์. (2564). เราเตรียมพร้อมกันหรือยัง กับการดูแลผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพและครอบคลุม. นครปฐม: งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิไลพร ขําวงษ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-40.

ศศิพัฒน์ยอดเพชร. (2554). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2563). ทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สยามรัฐออนไลน์. (2566). กทม.เร่งสำรวจผู้สูงอายุ นำเข้าระบบสวัสดิการ สร้างงานพัฒนาชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 17 มิถุนายน 2566, จาก https://siamrath.co.th/n/440105

สุภาวดี เทียนธาดา และคณะ. (2564). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ตนเองของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักข่าว Hfocus. (2565). กทม. ขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อเนื่อง ดูแลครอบคลุมทุก มิติ. เรียกใช้เมื่อ 17 มิถุนายน 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2022/05/25151

Denham, M. J. (1991). Care of The Long-stay Elderly Patient. (2nd ed.). London: Chapman and Hall.

Orem, D. E. (1991). Nursing Concepts of Practice. (4th ed.). Mosby-year Book.

Peace, S.M. (1990). Researching Social Gerontology: Concepts, Methods and Issues. London: SAGE.

Research Cafe' Thailand Science Research and Innovation (TSRI). (2562). สังคมผู้สูงอายุการเตรียมความพร้อมและรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของไทย. เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก https://researchcafe.tsri.or.th/aging-society/

World Health Organization. (1994). Division of Mental Health. Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools. Geneva: World Health Organization.

World Economic Forum (2017). The Future of Jobs Report 2017. Insight Report. Centre for the New Economy and Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30