บทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ ในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • นันทพงศ์ ตันติยวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชูชีพ เบียดนอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

บทบาท;, คุณลักษณะ;, นักการเมืองไทย;, พึงประสงค์;, คนรุ่นใหม่.

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย  (2) ประเมินคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย  และ (3) เสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญครั้งนี้ ได้แก่  บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับบริหารและปฏิบัติงาน นักการเมือง นักวิชาการ และคนรุ่นใหม่ที่มีช่วงอายุอยู่ใน Gen-Z จำนวน 24 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตยพบว่า การเมืองในสังคมไทยกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองหน้าใหม่ โดยกลุ่มคน Gen Z กำลังเติบโตเป็นกลุ่มฐานเสียงสำคัญในอนาคต คนรุ่นใหม่จึงอยากเห็นนักการเมืองไทยที่เลือกมานั้นยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย นำเสนอนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งการพัฒนาโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าการลงทุน ควบคู่ไปกับการสร้างสังคมที่ยุติธรรมแลเท่าเทียมกัน (2) คุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึง

ประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีความรู้ความสามารถ ด้านภาษา เทคโนโลยี มีทักษะการสื่อสารที่ดี  บุคลิกภาพที่ยิ้มแย้มแจ่มใส  เข้าถึงง่าย ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในสัจจะวาจาที่ให้ไว้กับประชาชน  และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ ประชาชนจะใช้ภาพลักษณ์ทางการเมืองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกนักการเมือง นักการเมืองยุคใหม่จึงต้องดูแลทุกข์สุขให้ประชาชน และมีทัศนคติที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและมีความทันสมัยต่อสภาวการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

References

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2566). วิเคราะห์ : X,Y หรือ Z Gen ไหน จะชี้ขาดผลเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cn32zyv9nr2o

กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2563). คนรุ่นใหม่กับกิจกรรมทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 23 ตุลาคม 2566 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news.

ข่าวสดออนไลน์. (2563). ชวนรู้จัก 'ฮ่องกงโมเดล' คืออะไร ทำไมถูกนำมาเปรียบเทียบกับม็อบไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 มิถุนายน 2566, จาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_5125000

จิรโชค (บรรพต) วีระสัย. (2550). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2560). คุณธรรมจริยธรรมนักการเมือง. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ทรงพล โชติกเวชกุล, สุรพล พรมกุล และสมควร นามสีฐาน. (2564). พฤติกรรมของประชาชนในการตัดสินใจ

ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 2. Journal

of Modern Learning Development, 6(6), 2544-265.

ธรรมนิติ. (2564). 10 คุณสมบัติสำคัญของผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.

dharmniti.co.th/10-คุณสมบัติสำคัญของผู้นำ/

นัฐพงษ์ ป้องแสง. (2563). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยที่แท้จริง. เรียกใช้เมื่อ 2 มิถุนายน 2566, จาก https://isaanrecord.com/2020/03/10/the-democracy-for-new-generations/

นันทนา นันทวโรภาส. (2566). เลือกตั้ง 2566 จับตาคนรุ่นใหม่ ชี้ชะตาประเทศ สะเทือนซีกอนุรักษนิยม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2693093

เนตรภัทร อ่วมเครือ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตําบลบ้านกุ่ม อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 115.

บุญทัน ดอกไธสง. (2552). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์ Global Paradigm of Public Management. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

ปฐมพงษ์ คำเขียว. (2565). หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญ. กรุงเทพมหานคร: ศาลรัฐธรรมนูญ.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2566). เลือกตั้ง 2566: ผลสำรวจเผย คนรุ่นใหม่อยากเห็นการเมืองไทยเปลี่ยน. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/politics/news-1191

พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ และพระใบฎีกาสุชินนะ อนิญฺชิโต. (2563). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 5(2), 99-113.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 122). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542. (2542, 17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก. หน้า 1-41.

พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ และสติธร ธนานิธิโชติ. (2561). คนรุ่นใหม่ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่านประชาชน-ความหวังหรือความฝัน. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://prachatai.com/journal.

โพสต์ทูเดย์. (2562). เข้าใจความต่างคน 4 เจเนอเรชั่น ทลายช่องว่างเพื่อการทำงานที่แฮปปี้. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/587633>

มติชนออนไลน์. (2563). คนรุ่นใหม่กับกิจกรรมทางการเมือง. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_2408961

โยธี ชัยวัฒน์, วงศ์โรจน์ วฤณดา, มัฎฐารักษ์ ปริยาภรณ์, และ เต็มแก้ว ศศิธร. (2565). ความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ (Gen - Z) กับการใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น: ศึกษากรณีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6 (1):179-90.

รพีพร ธงทอง. (2565). คุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นยุคใหม่กับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(2), 297-310.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). คุณสมบัติสำคัญของนักการเมืองที่ดี. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https

://mgronline.com/dailydetail/9490000061572

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

วรยุทธ สถาปนาศุภกุล. (2560). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 245-253.

วิเชษฐ์ เกษมทองศรี. (2560). นักการเมืองที่สังคมไทยต้องการจากการชุมนุมเรียกร้องของ กปปส.. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 59(3), 87-98.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2565).องค์ประกอบลักษณะบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ส่วนบุคคลของนักการเมืองที่มีผลต่อความไว้วางใจทางการเมือง และการไปออกเสียงเลือกตั้งของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น X, Y และ Z ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 305-321.

ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ : จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 287-297.

สันทัด โพธิสา. (2566). เผยตัวเลขคนไทยแต่ละเจเนอเรชัน ตัวแปรสำคัญเลือกตั้ง 2566. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/now/content/61

สุชานุช พันธนียะ และฮาซันอักริม ดงนะเด็ง. (2563). คุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ในทัศนะของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง. สถาบันพระปกเกล้า, กันยายน-ธันวาคม 2563, 17-35.

สุดเขต สกุลทอง. (2566). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผล

ต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 16-29.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การพัฒนาการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สํานักประชาสัมพันธ์ สํานักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนุรักษ์ รัตนกุล และคณะ. (2561). คุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีที่เหมาะสมกับสังคมไทย

ตามทรรศนะของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ทักษิณ. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (หน้า 1765- 1773). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2556). ภาพลักษณ์นักการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในระดับท้องถิ่น ศึกษากรณีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองควนลัง จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 187-199.

อิงฟ้า ชัชวาลสุข. (2563). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทผู้นำทางการเมืองยุคใหม่. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุทัย หิรัญโต. (2542). สารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

Broom, L. and Selznick, P. (1973). Sociology : A text with adapted Readings. Fifthed. New York: Harpe and Row.

Voice Online. (2563). เสียงสะท้อนส่วนหนึ่งของ 'New Voter' กว่า 7 ล้านคน กับ 'การเลือกตั้งครั้งแรก. เรียกใช้เมื่อ 2 มิถุนายน 2566, จาก https://voicetv.co.th/ read/PwFDTDQ_K

workpointTODAY. (2566). กกต.แถลงเลือกตั้ง 66 คนออกมาใช้สิทธิมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ยืนยันผล ‘ก้าวไกล’ ชนะอันดับ 1. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2566, จาก https://workpointtoday.com/election66-result/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30