การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5

ผู้แต่ง

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร, ทักษะดิจิทัล, ทักษะภาวะผู้นำดิจิทัล, การพัฒนาโปรแกรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อหาแนวการยกร่างโปรแกรม และตรวจสอบยืนยันโปรแกรมด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5  ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ซึ่งมี 4 Module ประกอบด้วย ทรัพยากรดิจิทัลเพื่อการศึกษา การเรียนการสอนบูรณาการดิจิทัล การเรียนรู้และประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ การสื่อสารและมีส่วนร่วมอย่างมือ ผลการประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 

References

กันตชาติ กุดนอก. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวี จันทร์เติม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาผู้บริหารในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

นันทรัตน์ ฤทธิ์บำรุง. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการเป็นแบบอย่างทางการสอนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตีย, 24(3), 450-458

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การบริหารการศึกษาใหม่: New Education Governance. การประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร. สำนักธรรมศาสตร์ และการเมือง ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุเดช แสงลุน, ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(41) , 175-184.

เยาวลักษณ์ จิตต์วโรดม. (2560). บทบาทและทักษะหลักของภาวะผู้นำในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารธุรกิจปริทัศน์ 9 (2): 81-91.

สุนทราภรณ์ อินอ่อน, กรองทิพย์ นาควิเชตร และ วิภาส ทองสุทธิ์. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2023): พฤษภาคม – สิงหาคม วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 256-271.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) (2563). กรอบแนวทางการ

พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4).

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). แผนการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. 2561-2564.

กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Barr, D., Harrison, J., & Conery, L. (2011). Computational Thinking: A Digital Age Skill For Everyone. Learning and Leading with Technology, 38(6), 20–23.

Boone, Edgar J. (1992). Developing Programs in Adult Education. Illinois : Waveland Press,Inc.

McCall, M. (1996). What’s the 70:20:10 Learning Model?. Retrieved from

https://elmlearning.com/why-everyone-should-just-stop-it-with-the-70-20-10-

model/.

Kaganer, E., Sieber, S., and J. Zamora. (2014). The 5 keys to a Digital Mindset. [ออนไลน์]. สืบค้น 25 เมษายน 2564 จาก http://www.forbes.com/sites/iese/2014/03/11/the-5-keys-to-a-digital-mindset/2/#47c6c5 e94f5f

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30