การส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา บุตรแพ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ละมุล รอดขวัญ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, การส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครบทุกมิติ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนโลกสมัยใหม่และผลักดันให้เกิดการพลิกโฉมประเทศ สร้างสังคมไทยให้ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ การส่งเสริมคุณธรรม​ผู้เรียนให้เกิดความยั่งยืนจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรม​ผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลทำให้การบริหารสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีแนวทาง 3 ขั้นตอน หรือ 3Ps Model ดังนี้ 1) การเตรียมการ (Pre-Pare) คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การตัดสินใจ การสร้างเป้าหมายร่วมกัน 2) การดำเนินการ (Process) คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่เน้น 2.1) การส่งเสริมบทบาท  ของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนในด้านพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู และ 2.2) การสนับสนุนภาคีเครือข่ายและสังคมให้มีส่วนร่วมจัดสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียน และ 3) การประเมินผล (Performance) คือ

การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานว่าบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาต่อไป ทั้งนี้จะนำประโยชน์ไปสู่การพัฒนาคุณธรรมให้กับผู้เรียน อีกทั้งสถานศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการบริหารสถานศึกษาต่อไป

References

กรมการศาสนา. (2562). การส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต.

เกษม วัฒนชัย และคณะ. (2560). คุณธรรมสำหรับคุณหมอ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมาภิบาลทาง การแพทย์.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

จินตนา บุญบงการ. (2558). จริยธรรมทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ชาญชิต ทัพหมี. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ทิพย์ หาสาสน์ศรี. (2553). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2550). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ.

ประยูร ศรีประสาธน์. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยธิดา ปาลรังษี และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยว โดยชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 17(2) 99-110.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 166 ตอนที่ 74 ก. หน้า 6-8.

มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2558). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การจัดการศึกษา: โดยชุมชน เพื่อชุมชน และสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยร่มเกล้า.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 10-11.

ยุพิน ระพิพันธุ์. (2544). ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งในเขตเทศบาลเมืองพนัส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชน มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

วิรัช วิรัชนีภาวรรณ. (2551). การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความหมายของการบริหาร การจัดการ การบริหารการพัฒนา และการบริหารจัดการ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2555). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2556). เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: อรุณ การพิมพ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วงชั้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). ชมุชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27,18-23.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หวน พินธุพันธ์. (2554). นักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2552). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

เอกพงษ์ สารน้อย และสุกานดา สารน้อย. (2563). ปัญหากฎหมายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบุบลราชธานี. 8(2).

Andrew, J.D. (2010). Principles of leadership (6thed.). Canada: South-Western.

Bovee, L. C. and other. (1993). Management. New York: McGraw-Hill.

Cohen, J. M., and Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Fornaroff, A. (1980). Community involvement in Health System for Primary Health Care. Geneva: World Health Organization.

Good, Carter. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw Hill.

Harold, K., and Civil, O’Donnell. (1972). Principles of management: An analysis of managerial functions. New York: MC Graw-Hill.

Herbert, A.S. (1972). Sistemu Sekkei to Soshikiron (system planning and organization theory). Soshiki Kagaku (Organizational Science), 6, 27-34.

Hersey, P., Blanchard, K.H., and Johnson, D.E. (2001). Management of organizational (6thed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Koontz, H., and Odonnell, C. (2001). Essentials of management. New York: McGraw-hill.

Koufman, H. F. (1949). Participation in Organized Activities in Selected Kentucky Localities. Roald, F.C. (1972). Introduction to educational administration (5thed.). Boston: Allyn and Bacon.

Lexington, KY: Kentucky. Agricultural Experiment Station, University of Kentucky.

Reeder, W.W. (1974). Some Aspects of The Information Social Participation of Farm Families in New York State. New York. Cornell Universit.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30