องค์กรแห่งความสุขในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วีรภัทร รุ่งโรจน์นภาดล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สุวิทย์ ภาณุจารี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ความสุข, องค์กรแห่งความสุข, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนต่างก็มีความสุขเป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้นการพัฒนาความสุขจึงเป็นการพัฒนาคนและสังคมที่รวมถึงด้านจิตใจและปัญญาด้วย กล่าวได้ว่าความสุขเป็น ตัวชี้วัดทางสังคมหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นว่าประเทศใดมีมวลรวมความสุขของประชาชนมาก ย่อมแสดงถึงภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานมีความสะดวกมากขึ้น หากมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถหรือทักษะต่าง ๆ ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก็จะทำให้ลดภาระงานบางอย่างและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานได้ บทความวิชาการเรื่องนี้  ผู้เขียนมุ่งศึกษาและนำเสนอเรื่ององค์กรแห่งความสุขในยุคดิจิทัล จากผลการศึกษาพบว่า องค์กรแห่งความสุขในยุคดิจิทัล หมายถึงองค์กรที่มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งเสริมความสุข ความพึงพอใจ และความผูกพันของพนักงานในสภาพแวดล้อมที่เทคโนโลยีและการสื่อสารดิจิทัลมีบทบาทสำคัญ

สรุปผลการศึกษา คุณลักษณะหลักขององค์กรแห่งความสุขในยุคดิจิทัล มีดังนี้ 1. การสื่อสารและการเชื่อมต่อ 2. ความยืดหยุ่น ในการทำงาน 3. การพัฒนาทักษะและการเรียนรู้
4. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี  5. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 6. การยอมรับและการให้รางวัล 7. การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งองค์กรแห่งความสุขในยุคดิจิทัลจึงไม่เพียงแต่จะช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับองค์กรเอง

References

กมลทิพย์ ใจเที่ยง. (2562). การบริหารองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันท์นภัส หน่อคำ และธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน (2565). การรู้ดิจิทัล การพัฒนาตนเอง และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ แจ้งวัฒนะ. วารสารจิตวิทยา, 20(2), 21-42.

ตวงเพชร สมศรี และคณะ. (2566). วิถีเมืองแห่งความสุขต้นแบบ : การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาเมืองพหุวัฒนธรรมแห่งความสุข. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 19(2), 1-21.

ธัญญาภรณ์ นาจำปา. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนคณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2566). ไทยขยับขึ้นอันดับที่ 60 จากการจัดอันดับของ World Happiness Report 2023 ฟินแลนด์ยังคงครองที่ 1 ‘ประเทศที่มีความสุขที่สุด’ 6 ปีซ้อน . เรียกใช้เมื่อ 19 มิถุนายน 2567 จาก https://www.sdgmove.com/2023/03/21/world-happiness-report-2023/

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School management in digital era). ทรูปลูกปัญญา . เรียกใช้เมื่อ 19 มิถุนายน 2567 จาก http://www.trueplookpanya.con/knowledge /52232/-edu

Abraham Maslow. (1954) Motivation and Personality. New York: Harper & Brothers.

Digital Intelligence, Standard for digital intelligence. เรียกใช้เมื่อ 19 มิถุนายน 2567 จาก https://live.dqinstitute.org/global-standards/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14