ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเอง, ความมีวินัยในตนเองบทคัดย่อ
การพัฒนาความมีวินัยในตนเองถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องได้รับการพัฒนาสำหรับกลุ่มเยาวชนที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงรอยต่อระหว่าง เด็กและวัยรุ่น จึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ดังนั้น นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา จึงน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมในการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง 394 คนเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1-3 (ปวช.) ปีการศึกษา 2564 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวของลิเคอร์ท (Likert) การหาคุณภาพของ
แบบสอบถาม มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.70-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปยังปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุดได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต การจัดสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย การเห็นแบบอย่างทางสังคม เจตคติต่อความมีระเบียบวินัย อิทธิพลของสื่อ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสนใจคุณธรรมส่วนตัว ตามลำดับซึ่งปัจจัยทั้ง 7 สามารถร่วมกันพยากรณ์ความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาได้ร้อยละ 74.3
ดังนั้น ตัวแปรทั้ง 7 ตัวคือลักษณะมุ่งอนาคต การจัดสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย การเห็นแบบอย่างทางสังคม เจตคติต่อความมีระเบียบวินัย อิทธิพลของสื่อ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสนใจคุณธรรมส่วนตัว ควรนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระเบียบวินัยของเยาวชน เพราะเป็นรากฐานให้เยาวชนสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
References
กุหลาบ อินทร์สา. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิตตินันท์ ติกุล.(2545). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสุรนารี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2529). จิตวิทยาการปลูกฝังวินัยแห่งตน ในประมวลบทความทางวิชาการ ตอน 1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ในการวิจัยและพัฒนาบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทัศนียา แสนทิพย์. (2559). การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธัญพร แซ่เทียน.(2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธีระภาภรณ์ ดงอนนท์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
บัวลอย มธุรสวรรค์. (2560). พฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เขตภาคตะวันตก. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สิริกร สินสม.(2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Bandura. (1977). Social learning Theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.