ถอดบทเรียนการสั่งสมภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางกสิกรรม กรณีศึกษาหมู่ที่ 3 ตำบลกรุงชิง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การสั่งสมภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ความเสี่ยงทางกสิกรรม, การจัดการความเสี่ยงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษากระบวนการเรียนรู้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาทางกสิกรรมจนนำไปสู่การสร้างโมเดลสร้างสมภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลกรุงชิง จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง โดยมีจำนวน 1 ตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตรงตามลักษณะต้องการศึกษา ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ อาศัยเทคนิค laddering technic ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็น Input process output แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นโมเดลการสั่งสมภูมิปัญญาของปราชญ์ขาวบ้านในการจัดการความเสี่ยงทางกสิกรรมของปราชญ์ชาวบ้าน ม.3 ต.กรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการสั่งสมประสบการณ์การจัดการความเสี่ยงทางกสิกรรม ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้นำชุมชน การรวมกลุ่ม ความเป็นพหูสูต การช่างสังเกต คิด
วิเคราะห์ การลงมือทำ ในส่วนกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะสั่งสมปัญหา คือทำความเข้าใจว่าปัญหาที่ เกิดขึ้นคืออะไร ระยะที่ 2 ระยะสังเกตปัญหา ระยะที่ 3 ระยะวิเคราะห์สาเหตุ ระยะที่ 4 ระยะรวบรวมองค์ความรู้ ระยะที่ 5 ระยะทดลองปฏิบัติ ระยะที่ 6 ระยะประเมินผล และปัจจัยนำออก ได้แก่ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเสี่ยงลดลง รายได้เพิ่มขึ้น แล้วจึงทำการประเมินผลการใช้ภูมิปัญญานั้นและนำภูมิปัญญานั้นพัฒนาต่อไป
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร.
ชาคริต เขื่อนสุวงค์. (2562). ทฤษฏีพัฒนาการของ Piaget. กรุงเทพมหานคร: ซี เอด พับลิชชิง.
ทิพย์วารี สงนอก. (2563). เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นจากวิถีชาวบ้าน ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(3). 129 – 143.
ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2563). เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกศ. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิดาราม, 5(2), 105 – 120.
นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 17 – 26.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2559). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษากรุงเทพ.
พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2014). บทวิจารณ์วารสาร Self – Disclosure in Social Media: Extending the Function Approach to Disclose Motivation and Characteristics on Social Site. วาสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 2(1), 199 – 202.
พรชัย ศุภวิฑิตพัฒนา และคณะ. (2564). การศึกษาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนบางกะเจ้า. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(2), 118 – 130.
ภารดี มหาขันธ์ และนันท์ชญา มหาขันธ์. (2559). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นพนัสนิคม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(45), 1-19.
รุ่งทิทพย์ ชัยพรม และคณะ. (2558). กระบวนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(1), 165 – 175.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2565). ระดับขั้นความสามารถของบลูมและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: โซลไรท์.
วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร. (2560). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจเกษตร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
Noppitam district. (2023). ข้อมูลทั่วไปอำเภอนพพิตำ. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2566 จาก www.noppitam.go.th//.