การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธรรมรัตน์ โรมแพน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, วัฒนธรรมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
2. ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 3. นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 35 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ตามเนื้อหา แล้วสรุปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมทางการเมืองในบริบทของการเลือกตั้งยังคงเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมีการพัฒนาไปตามสภาพสังคม การศึกษาและทำความเข้าใจใน

เรื่องนี้จำเป็นต้องพิจารณาทั้งประวัติศาสตร์ สถานการณ์ปัจจุบัน และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเมืองในแต่ละยุคสมัย

  1. รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 1) ความสัมพันธ์เชิงชุมชนและการเชื่อมโยงส่วนบุคคล 2) บทบาทของผู้นำท้องถิ่นและผู้มีอิทธิพลในชุมชน 3) การรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 4) การรับรู้ข่าวสารและข้อมูลท้องถิ่น 5) การมีส่วนร่วมและความตื่นตัวทางการเมือง 6) การให้ความสำคัญกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน
  2. แนวทางในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมการศึกษาทางการเมือง 2) การส่งเสริมความโปร่งใสและความเป็นธรรมในกระบวนการเลือกตั้ง 3) การสนับสนุนบทบาทของผู้นำชุมชนและสื่อท้องถิ่น 4) การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและกลุ่มประชาสังคม 5) การพัฒนาโครงการริเริ่มชุมชน 6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน 7) การสร้างพื้นที่สำหรับการสนทนาทางการเมือง

References

บูฆอรี ยีหมะ. (2552). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัชภัฏสงขลา.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และสุธี ประศาสน์เศรษฐ์. (2560). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย: ปัญหาเชิงโครงสร้าง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 6(2), 69-89.

วิศาล ศรีมหาวโรจ. (2554). การเมืองไทยระบบหรือคน: การพัฒนาวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 3 (2), 1-4.

ศราวุธ ขันธวิชัย และคณะ. (2565). วัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทยในยุคแห่งการเชื่อมโยง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 566-578.

สำนักกิจการชาติพันธุ์. (2557). แผนแม่บทพัฒนาชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2558 - 2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการชาติพันธุ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และภัทรพล ทศมาศ. (2565). การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชุมชนชนบทไทยในทศวรรษที่ 10 แห่งประชาธิปไตยไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา, 20(3), 146-164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14