หลักสูตรการพัฒนาสมองซีกขวาเพื่อการจัดการเรียนการสอน ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สรรเสริญ เลาหสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การพัฒนาสมองซีกขวา, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาสมองซีกขวาเพื่อการจัดการเรียนการสอน ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี และ 2) ศึกษาผลของการทดลองใช้หลักสูตร ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตร ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง ได้แก่ครูมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 80 คน ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมองซีกขวาของผู้เรียน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการใช้สมองซีกขวา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการพัฒนาสมองซีกขวาเพื่อการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย หลักการของหลักสูตร, วัตถุประสงค์ของหลักสูตร, เนื้อหาหลักสูตร, แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเสนอสาระ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ และ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นประยุกต์สู่การจัดการเรียนรู้ 2) ก่อนและหลัง

การใช้หลักสูตร ครูมีความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้หลักสูตร ครูมีความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมองซีกขวาของผู้เรียน สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม 3) ผลการประเมินพฤติกรรมการใช้สมองซีกขวาของครู จากคะแนนเต็ม 9 ได้คะแนนรวมสูงที่สุดในกิจกรรมที่ 6 : สมองสร้างสีสัน (8.79) และได้คะแนนรวมน้อยที่สุดในกิจกรรมที่ 3 : สมองสร้างจังหวะ (7.01) และ 4) ครูมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบุรีมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการพัฒนาสมองซีกขวาเพื่อการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด   

References

ครูอัพเดทดอทคอม. (2564). 9 ทักษะ ที่มีประโยชน์ สำหรับครู ในยุคนี้. เรียกใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566. จาก https://dekdee.org/th/news/101988-9-ทักษะ-ที่มีประโยชน์-สำหรับครู-ในยุคนี้/

จังหวัดเพชรบุรี. (2567). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ 2569) เอกสารเผยแพร่สรุปผลการประชุมสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2566 – 2570. จังหวัดเพชรบุรี.

เนตรนภา ปะวะคัง. (2564) สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา แตกต่างกันจริงไหม และสมองทำงานอย่างไร. เรียกใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://hellokhunmor.com/สุขภาพ/ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป/สมองซีกซ้าย-สมองซีกขวา-ค/

พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในนักเรียนและแนวทางการแก้ไข. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 จาก http://www.psyclin.co.th/new_page_53.htm

มุนีร มูหะหมัด. (2566). สมองสองซีก. เรียกใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 จากhttps://www.islammore.com/view/2490

ยิ่งรัก ช่วยบุญ. (2566). ดนตรีและการพัฒนาสมอง. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 จากhttps://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/671//

ยุทธนา ภาระนันท์. (2563). เปิดสมองปั้นอัจฉริยะ…ด้วยพลังสมองซีกขวา. เรียกใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 จาก https://howareyou.co.th/?p=2295

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. (2566). เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 จาก https://drive.google.com/drive/folders/1DdUibgrlLzCB61TI-Tz9DaA8j15VYq04

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. (2565). ปัญหาเด็กวัยเรียน. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 http://www.amno.moph.go.th/amno_new/index.php?option=com_content&view

สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์, (2564). หน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้าย-ขวา ทำงานอย่างไร? เรียกใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 จาก https://www.rattinan.com/brain/

อุดม เพชรสังหาร. (2560). 5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง สร้างเด็กคุณภาพลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น โดยใช้กิจกรรมดนตรี (Communicative Musicality). เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 จาก https://www.kroobannok.com/81045

Nichapon Palacop. (2018). ศิลปะกับการพัฒนาสมองมนุษย์. เรียกใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 จากhttps://www.fa.rmutt.ac.th/?p=1129

Staub, M. E. (2016). The other side of the brain: The politics of split-brain research in the 1970s–1980s. History of Psychology, 19(4), 259–273.

Retrieved November 6, 2023, from https://doi.org/10.1037/hop0000035

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14