การแปลข่าวในเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษของสำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

Main Article Content

วิภาพร ภูริธนสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงกลวิธีการแปลข่าวจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและปัจจัยที่มีผลต่อการแปลข่าว รวมทั้งบทบาทของผู้แปลข่าวหรือที่เรียกกันว่าผู้เรียบเรียงข่าว เพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจศึกษาการแปลข่าว โดยใช้ข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์เป็นกรณีศึกษา         


จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการแปลข่าวจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษมีทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับภาษาและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภาษา กล่าวคือปัจจัยเกี่ยวกับภาษาที่เป็นอุปสรรคในการแปลคือการที่ภาษาต้นฉบับมีลักษณะบรรยายความ ทำให้ต้นฉบับเยิ่นเย้อ ส่วนปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภาษาได้แก่ นโยบายขององค์กร ประเภทของสื่อ กลุ่มเป้าหมาย และรูปแบบของต้นฉบับ


รูปแบบการแปลที่พบมากที่สุดในการแปลข่าวคือการแปลแบบเอาความ (free translation) แบ่งได้เป็นการแปลแบบย่อหรือสรุปความคือละไม่แปลเนื้อหาบางช่วงเมื่อข่าวต้นฉบับกล่าวถึงเนื้อหาเดิมซ้ำๆ การแปลแบบขยายความเพิ่มรายละเอียดเมื่อเนื้อหาสำคัญในข่าวต้นฉบับไม่ชัดเจน รวมถึงการปรับบทแปลเมื่อภาษาต้นฉบับไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้อ่านข่าวชาวต่างชาติ การอ่านจับใจความเป็นกระบวนการแรกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาต้นฉบับและการเลือกกลวิธีการแปล

Article Details

บท
บทความ

References

ดวงตา สุพล. (2545). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เตือนจิต จิตต์อารี. (2548). แปลให้เป็นแล้วเก่ง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
ปทมา อักษรจรุง. (2545). ศิลปะการแปลไทยเป็นอังกฤษ: กลเม็ดพิชิตการแปลด้วยหลักและวิธีง่าย ๆ แปลได้รวดเร็ว. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7. (2553). เทคนิคการเขียนข่าว. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2553, จาก http://region7.prd.go.th/ewt_news.php?nid=12
กรมประชาสัมพันธ์. (ม.ป.ป.). ประวัติกรมประชาสัมพันธ์, จาก http://www.prd.go.th/main.php?filename=about_us
Itule, B. D., & Anderson, D. A. (2008). News writing & reporting for today's media. Boston : McGraw-Hill
Munday, J. (2001). Introducing translation studies: Theories and application. London: Routledge.
Venuti, L. (2008). Translator’s invisibility: A history of translation. London: Routledge.