เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ต้นฉบับบทความที่ส่งมานี้ ไม่เคยผ่านการตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารฉบับอื่นๆ และต้องไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน
  • เป็นบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขต (aim and scope) ของวารสาร
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมบทความในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word Document (.doc / .docx) และ .pdf
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมต้นฉบับตามแนวทางของวารสารการแปลและการล่าม ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ "คำแนะนำผู้แต่ง"
  • บทความประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) หน้าแรกซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน คือ ชื่อนามสกุลจริงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) หน่วยงานที่สังกัด (เช่น ภาค/สาขาวิชา...คณะ...ฯลฯ) หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และ (2) ส่วนของบทความ คือ ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำนำ เนื้อหา เชิงอรรถ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก (ถ้ามี)
  • บทความมีความยาว 10-15 หน้า มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวอย่างละไม่เกิน 250 คำ
  • เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทัศน์ผลงานแปลก็ได้
  • เป็นบทความที่เขียนเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็ได้ (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ควรให้เจ้าของภาษาตรวจภาษาเสียก่อน)

วารสารการแปลและการล่ามขอความร่วมมือผู้เขียนโปรดศึกษาข้อกำหนดของวารสารก่อนส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ดังนี้

1. ประเภทของบทความที่รับพิจารณา ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทรรศน์ผลงานแปล

2. บทความต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการแปลและการล่าม เช่น การเรียนการสอนวิชาการการแปลและ/หรือการล่ามในศตวรรษที่ 21 การประยุกต์ทฤษฎีในการแปลและ/หรือการล่ามเฉพาะทาง การวิเคราะห์ผลงานแปลประเภทต่างๆ เทคโนโลยีและเครื่องมือช่วยในการแปลและ/หรือการล่าม และสหวิทยาที่เกี่ยวข้อง

3. เป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

4. บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย จำนวน 2 ท่าน กองบรรณาธิการจะรวบรวมข้อวิพากษ์ของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาว่าจะรับตีพิมพ์บทความนั้นหรือไม่ และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนรับทราบ กรณีบทความได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์และต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหรือกองบรรณาธิการ ให้ผู้เขียนพิจารณาแก้ไขบทความให้สมบูรณ์

5. ขอความร่วมมือผู้เขียนเตรียมต้นฉบับ ตามคำแนะนำ ดังนี้

    5.1 พิมพ์ลงกระดาษขนาด A4 ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007 หรือสูงกว่า เนื้อหามีความยาวประมาณ 10-12 หน้า ไม่รวมรูปภาพ ตาราง ภาคผนวก (รวมกันไม่เกิน 3 หน้า)

    5.2 ตั้งค่าหน้ากระดาษ บน ล่าง ซ้าย ขวา เท่ากับ 2.50 ซม.

    5.3 ใช้แบบอักษรไทยสารบรรณ TH Sarabun PSK ตลอดทั้งบทความ ดังนี้

           - ชื่อเรื่องภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษ ขนาด 18 พิมพ์กึ่งกลาง ตัวหนา

           - ชื่อผู้เขียนภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษ ขนาด 16 พิมพ์ชิดขวา ตัวหนา

           - คำว่า "บทคัดย่อ" และ "Abstract" ขนาด 16 พิมพ์ชิดขวา ตัวหนา

           - รายละเอียดบทคัดย่อและ abstract เว้นระยะหนึ่งย่อหน้า ขนาด 15 พิมพ์ชิดขอบซ้ายขวา ความยาวประมาณ 250 ตัวอักษร

           - คำว่า "คำสำคัญ:" และ "Keywords:" ขนาด 15 พิมพ์ชิดซ้าย ตัวเอนหนา

           - คำสำคัญ: และ Keyword: แต่ละตัวขนาด 15 พิมพ์ชิดขอบซ้ายขวา ตามด้วยหมายเลข (1, 2, 3,...) จำนวน 5 - 10 คำ เช่น 1. ล่าม 2. นักแปล 3. ข่าวกรอง 4. เจ้าหน้าที่การข่าว 5. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

           - หัวข้อสำคัญ ขนาด 15 พิมพ์ชิดซ้าย ตัวหน้า เว้นระยะบนล่างอย่างละ 1 บรรทัด

           - หัวข้อย่อย ขนาด 15 พิมพ์ย่อหน้า 1 ย่อหน้า ตัวหนา ใช้ตัวอักษร (ก. ข. ค.) กำกับสลับกับตัวเลข หรือใช้ตัวเลขอย่างเดียว ถ้ามีมากกกว่า 3 หัวข้อย่อย

           - เนื้อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 15 พิมพ์ชิดซ้ายขวา ยกเว้นบรรทัดแรกให้ย่อหน้า 1 ย่อหน้า

           - คำว่า "รูปภาพ" "กราฟ" "แผนภูมิ" และ "ตาราง" ขนาด 12 ตัวหนา

           - ชื่อรูปภาพ ชื่อกราฟ ชื่อแผนภูมิ และชื่อตาราง ขนาด 12 ตัวปกติเอน

    5.4 ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศเป็นคำศัพท์แปลหรือคำอ่านของคำศัพท์ภาษาไทยให้ใส่ในวงเล็บข้างหลัง ถ้าเป็นคำศัพท์แปลใหม่ที่ผู้เขียนบัญญัติเองให้อธิบายในเชิงอรรถเสริมความ (content footnote) ถ้าใช้ตัวอักษรแบบอื่น ให้ส่งไฟล์ตัวอักษรนั้นๆ มาด้วย

    5.5 ใช้ตัวเลขอารบิค ยกเว้นเป็นส่วนหนึ่่งของบทความหรือการอ้างอิง สามารถใช้ตัวเลขไทยหรือตัวเลขในภาษาต้นฉบับ ถ้าตารางจำนวนมาก ควรใส่ในภาคผนวก ขนาดความกว้างของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้าตามที่กำหนด สำหรับตารางขนาดใหญ่ ให้พยายามลดขนาดของตารางลงโดยใช้การถ่ายย่อส่วน หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม ส่วนตารางที่ใหญ่เกินความกว้างของหน้ากระดาษอาจจัดพิมพ์ตามแนวขวางของหน้าแทน

    5.6 รายละเอียดผู้เขียนบทความ ได้แก่ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล์ ให้ใส่ในเชิงอรรถ ท้ายหน้าแรกของบทความ

    5.7 เชิงอรรถเสริมความ ให้เรียงลำดับตัวเลขต่อกันในบทความ

    5.8 การอ้างอิง ใช้รูปแบบ APA ฉบับปรับปรุงล่าสุด

6. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการส่งบทความทาง https://www.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/issue/view/14968

7. กองบรรณาธิการมีสิทธิ์แก้ไขรูปแบบบทความและพิสูจน์อักษร เช่น ตัวสะกด วรรคตอนและขนาดตัวอักษร (ยกเว้นที่เป็นส่วนหนึ่งของบทความ) การอ้างอิง บรรณานุกรม โดยแจ้งให้ผู้เขียนทราบก่อนการตีพิมพ์

8. ผู้เขียนจะได้รับวารสารฉบับที่บทความของผู้เขียนได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 3 เล่ม

9. ผู้เขียนจะไม่ได้รับค่าตอบแทน

10. วารสารการแปลและการล่ามเป็นวารสารที่ตีพิมพ์จำนวนจำกัด และเผยแพร่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หากสมาชิกต้องการวารสารฉบับพิมพ์เล่ม โปรดแจ้งล่วงหน้าและมีค่าใช้จ่าย

11. ผู้เขียนบทความไม่สามารถนำผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแปลและการล่ามไปดัดแปลงหรือตีพิมพ์ซ้ำในสื่ออื่นใดโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ 2537 "มาตรา 7 (5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น" และ "มาตรา 14 กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร"

       หากผู้เขียนต้องการนำไปเผยแพร่ซ้ำเพื่อการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน โดยไม่หาผลประโยชน์อันเป็นรายได้ กองบรรณาธิการวารสารฯ ยินยอมให้ผู้เขียนนำไปเผยแพร่ซ้ำโดยขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร และระบุรายละเอียดของสื่ออื่นที่จะนำไปเผยแพร่ ในการตีพิมพ์ในสื่ออื่นใดให้ระบุที่มาของบทความ ได้แก่ ปีที่พิมพ์ ฉบับที่ตีพิมพ์ และชื่อเรื่องในวารสารการแปลและการล่าม โดยทำจดหมายขออนุญาตส่งเป็น word file และ pdf file และส่งหนังสือ หรือวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ลงบทความนั้น ๆ จำนวน 1 ชุด มายังกองบรรณาธิการวารสารการแปลและการล่าม หากผู้เขียนนำบทความที่ตีพิมพ์แล้วในวารสารฯ นี้ไปใช้อ้างอิงในงานเขียนใหม่ ให้ใช้หลักการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมในข้อ 5.8 โดยไม่ต้องขออนุญาต