Publication Ethics
การดำเนินงานของกองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรมได้กำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารกระบวนกระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรม ผู้พิจารณาบทความ และผู้เขียนบทความ
- กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรม
กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรมพึงมีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานตีพิมพ์เผยแพร่วารสารกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
- 1. กองบรรณาธิการจะพัฒนาการบริหารจัดการ และยกระดับวารสารกระบวนการยุติธรรมให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
- 2. กองบรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้พิจารณาบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- 3. กองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ และผู้พิจารณาบทความ
- 4. กองบรรณาธิการจะต้องไม่ตีพิมพ์ผลงานของตนเองอย่างมีนัยสำคัญ
- 5. หากกองบรรณาธิการพบว่า บทความมีการลอกเลียน มีการปลอมแปลงข้อมูล หรือบทความมีความซ้ำซ้อนกับ ผลงานชิ้นอื่นๆ ซึ่งสมควรถูกถอดถอนบทความ กองบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียนบทความ กองบรรณาธิการจะทำการชี้แจง แก้ไข ทำความกระจ่างให้เกิดขึ้น และขออภัยด้วยความเต็มใจกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด
- ผู้พิจารณาบทความ (Peer Review)
ผู้พิจารณาบทความวารสารกระบวนการยุติธรรมจะต้องพิจารณาบทความให้มีคุณภาพอยู่เสมอ เพื่อให้วารสารกระบวนการยุติธรรมรักษาไว้ซึ่งคุณภาพทางวิชาการ ดังนี้
- 1. ผู้พิจารณาบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
- 2. ผู้พิจารณาบทความ ต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความ ในสาขาวิชานั้นๆ ในเชิงวิชาการ อย่างเข้มข้น อีกทั้งไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินบทความ
- 3. เมื่อผู้พิจารณาบทความพบว่า บทความมีความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้พิจารณาบทความจะแจ้ง ให้กองบรรณาธิการทราบ
- 4. ผู้พิจารณาบทความจะไม่รับพิจารณาบทความที่ตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น บทความ ที่ตนเองมีส่วนร่วม หรือมีความสัมพันธ์กับผู้เขียน/หน่วยงานที่จะมีผลต่อการประเมินบทความอย่างสำคัญ
- ผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความจะต้องมีความรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง ดังนี้
- 1. ผู้เขียนบทความจะต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมายังวารสารกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่บทความแปล หรือบทความซ้ำ ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
- 2. ผู้เขียนบทความได้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารกระบวนการยุติธรรมของสำนักงานกิจการยุติธรรมเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
- 3. ผู้เขียนบทความจะส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารกระบวนการยุติธรรมกำหนด
- 4. ผู้เขียนบทความจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง ทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการอ้างอิง และไม่นำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในบรรณานุกรม
- 5. ผู้เขียนบทความจะปรับแก้ไขบทความตามผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด หากไม่รับแก้ผู้เขียนจะต้องชี้แจ้งเหตุผลมายังกองบรรณาธิการอย่างเป็นทางการ